Gestalt 101 — Fool the eyes

สันติ ลอรัชวี

นิทานเซนเรื่องหนึ่งสอนว่า…
แรกเริ่ม…
มองแม่น้ำก็เป็นแม่น้ำ
มองภูเขาก็เป็นภูเขา
ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างเลย
แต่ต่อมา… จะมองเห็นว่า
แม่น้ำไม่ได้เป็นแม่น้ำ ภูเขาไม่เป็นภูเขา
แม่น้ำก็เป็นเพียงธาตุ ภูเขาก็เป็นธาตุ
แต่เมื่อผ่านชีวิตมากขึ้น…
กลับมามองเห็นแม่น้ำนั้นก็เป็นแม่น้ำ
ภูเขาก็เป็นภูเขาดังเดิม

Heraclitus นักปรัชญากรีกโบราณยังกล่าวไว้ว่า
ไม่มีใครที่ก้าวลงแม่น้ำสายเดิมได้เป็นครั้งที่สอง
เหตุเพราะแม่น้ำนั้นไม่ใช่สายเดิม คนๆ นั้น ก็ไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป
ไม่ว่าแม่น้ำหรือบุคคลก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

เมื่อเรายืนอยู่ชั้นบนของอาคารสูงแล้วมองออกไป…
เห็นตึกรามบ้านช่อง ต้นไม้ และท้องฟ้า
ในทางทฤษฎีอาจกล่าวได้ว่าเราเห็นค่าความสว่างของแสงและความต่างของสี
แต่เราก็ไม่ได้คิดว่าเห็นค่าอะไรทั้งนั้น
เราเห็นมันเป็นรูปทรงรูปร่างที่ทำให้เราเข้าใจว่ามันคืออะไร
หรือบ้างครั้งเราก็มองเห็นภาพรวมๆ นั้นเป็นฉากของเมือง
อาจมีตึกบางตึกที่ทำให้เราบอกได้ว่านี่คือกรุงเทพฯ ที่เรารู้จัก

เวลาที่เราฟังเพลง…
เราก็ไม่ได้ใส่ใจแยกแยะหรือรับรู้ว่ากำลังได้ยินเสียงแต่ละโน้ต
กำลังเรียงตัวกันสลับกันไปมาบ้าง ดังขึ้นพร้อมกันบ้าง ยกเสียงสูงขึ้นลงต่ำอย่างไร
แต่เราได้ยินเป็นท่วงทำนองดนตรี ไพเราะหรือไม่คงขึ้นอยู่กับคุณ

ที่กล่าวมา… มันน่าสนใจอย่างไร

ย้อนกลับไปช่วงปลายศตวรรษที่ 19
นักปรัชญาและนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย Christian von Ehrenfels
เคยตั้งถามน่าสนใจว่า “เรารับรู้ทำนองดนตรีได้อย่างไร?”
“อะไรที่อยู่ในความคิดของเราขณะกำลังได้ยินท่วงทำนอง?”
เมโลดี้คือลำดับของโทนเสียง เป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่ต่างกัน
หูของเรารวบรวมการสั่นสะเทือนเหล่านี้แปลงเป็นกระแสไฟฟ้าและส่งต่อไปยังสมองของเรา
โน้ตเหล่านี้ได้รับการตัดเย็บในรูปแบบเฉพาะของความสัมพันธ์ระหว่างโน้ต จังหวะ และความสอดประสาน ท่วงทำนองนั้นถูกบันทึกไว้ในความทรงจำของเรา เป็นทำนองที่เราสามารถจำได้ในอนาคต

Ehrenfels เริ่มศึกษาจากงานของนักวิทยาศาสตร์ Ernst Mach ที่ชื่อ “Contributions to analysis sensation” ซึ่ง Mach เสนอว่าเวลาเราเห็นเส้นตรงสามเส้นที่เชื่อมต่อกัน
นอกเหนือไปจากความรู้สึกพื้นฐานของที่เห็นเป็นเส้นสามเส้นแล้ว
เรายังรู้สึกถึง “รูปร่าง – รูปแบบ (shape-form)” ไปในขณะเดียวกันด้วย (เช่นรูปทรงสามเหลี่ยม)
เขาขยายความคิดนี้ไปในด้านรูปแบบที่เกี่ยวกับเวลา (time-forms) เช่นกัน
และเสนอว่าการที่เรารับรู้ทำนอง อาจเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกัน
ดังนั้นเมื่อเราได้ยินโน้ตแต่ละตัว เราก็ตระหนักถึงเสียงทั้งหมดที่ได้ยินด้วย

แต่ Ehrenfels พบข้อขัดแย้งที่สำคัญว่า
เราสามารถ “รับรู้” สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันตรงหน้าเท่านั้น
ในขณะที่เราไม่เห็นภาพที่เกิดขึ้นแล้ว
เราไม่สามารถได้ยินเสียงที่ได้เล่นไปแล้ว
เมโลดี้จึงต้องการเวลาในการเปิดเผยลำดับของมัน
เพื่อให้เมโลดี้ชุดหนึ่งเมคเซนซ์สำหรับเรา

เราจำต้องพึ่งพาความทรงจำของเราอย่างน้อยสองสามโน้ตครั้งที่ได้ยินก่อนหน้า
ไม่เช่นนั้น ทุกเพลงที่จบลงในระดับเสียงเดียวกัน จะได้ยินเหมือนกัน
เมื่อคุณจำเพลงได้ คุณจะจดจำรูปแบบโดยรวมของมัน ซึ่งไม่ใช่ความรู้สึกที่แม่นยำ
การรับรู้ของเราจึงต้องมีอย่างอื่นมาช่วย
Ehrenfels เสนอว่า สิ่งนี้คือ “ความสัมพันธ์ระหว่างโน้ต” ความสัมพันธ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ชัดเจนโดดเด่น
เป็นทั้งความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ (spatial) อันได้แก่
— ช่วงว่างระหว่างโน้ต (Interval)
— ความสัมพันธ์ชั่วขณะ (temporal) ได้แก่ จังหวะ (rhythm)
— ความสัมพันธ์เชิงสอดประสาน (harmonic) ได้แก่ โทนเสียง (timbre)
หรืออาจมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนไปได้มากกว่านั้น
สำหรับ Ehrenfels เป็นคำตอบที่ชัดเจนสำหรับคำถามว่าทำไม
เรายังคงจดจำท่วงทำนองได้ แม้จะได้ยินเพลงนี้ในคีย์อื่น
นั่นคือเราจะเก็บข้อมูลเชิงความสัมพันธ์มากกว่าที่จะระบุโน้ตตัวนั้นๆ

Ehrenfels เสนอว่า ท่วงทำนองรวม คือ บางสิ่งที่มากไปกว่าผลรวมของส่วนดนตรีแต่ละส่วนในเพลง
เขาอธิบายถึงเวลามีเมโลดี้หนึ่งชุดถูกเล่น กับแค่เล่นโน้ตทีละตัว ไปยังกลุ่มคนที่แตกต่างกัน

เขาตั้งคำถามว่า… มีความแตกต่างในการทำความเข้าใจต่อทำนองเพลง
ระหว่างกลุ่มที่ได้ยินหนึ่งแค่เพียงทีละโน้ต
กับกลุ่มคนที่ได้ยินทำนองทั้งหมดหรือไม่?
จากคำตอบจะเห็นได้ชัดว่าคนที่ได้ฟังทำนองทั้งหมดจะต้องได้รับสิ่งอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย
นอกเหนือจากส่วนของดนตรี สิ่งที่พวกเขารู้สึกไม่เพียงแค่โน้ตแต่ละตัวที่ถูกเล่นออกมา
แต่ยังรวมถึงสิ่งแฝงที่ได้รับด้วย

Ehrenfels เรียกสิ่งนี้ว่า Gestaltqualitäten ของเมโลดี้ หรือ “Gestalt quality”
Gestalt เป็นคำภาษาเยอรมัน คำนี้ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดของความเป็นทั้งหมด (whole), การเชื่อมโยงกัน (coherence), ความสมบูรณ์ (completeness) รวมถึง ชุดของความสัมพันธ์, การกำหนดค่าเฉพาะ, รูปแบบ, รูปร่าง, …

เขาจึงเป็นเสมือนผู้บอกใบ้ถึงคุณสมบัติของ gestalt ไว้ว่ามันอาจเป็นสิ่งที่ก่อร่างสร้างการรับรู้ทุกชนิด
นี่คือคุณสมบัติพิเศษสำหรับทำนองที่ไม่ได้เกิดจากการรวมเสียง
และยิ่งไปกว่านั้น… ถ้าเรารับรู้จดจำทำนองในแบบไม่ได้เป็นข้อมูลดิบ
แต่เป็นชุดของความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน

วันหยุดในฤดูใบไม้ร่วงปี 2453
นักจิตวิทยา Max Wertheimer เดินทางโดยรถไฟผ่านทางใต้ของเยอรมนี
ระหว่างทางที่รถไฟถูกขวางให้หยุดโดยป้ายข้ามทางรถไฟ
ลำดับของแสงไฟบนป้าย“ ขยับ” ส่องสว่างทีละจุดตามแนวเส้นที่ชัดเจน
คล้ายกับแสงไฟรอบๆ ป้ายโรงละคร
เขาถามตัวเองว่า… ทำไมเราถึงเห็นความเคลื่อนไหวเมื่อหลอดไฟแต่ละดวงหยุดนิ่ง
ไฟแต่ละดวงจะสว่างทีละครั้งในลำดับที่แน่นอน
มันเป็นภาพลวงตาหรือไม่? เราถูกหลอกหรือไม่
หรือเรารับรู้การเคลื่อนไหวโดยตรงเลยกันแน่

Wertheimer ศึกษาการเคลื่อนไหวในฐานะสิ่งที่รับรู้ได้
เช่นเดียวกับวัตถุสิ่งของต่างๆ
และการสืบค้นของเขาก็เป็นเวลาที่ประจวบเหมาะเหลือเกิน ณ ตอนนั้น
ขณะนั้นภาพเคลื่อนไหว หรือ ภาพยนตร์ เพิ่งเกิดขึ้น รวมถึงทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวประกอบกับการรับรู้ภาพลวงตาที่เกิดขึ้นในสมอง, การรวมกันของสารตกค้างจากการมองเห็น, ข้อผิดพลาดทางกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของตา, การตัดสินที่ลวงตาหรือมันเป็นเพียงแค่การรับรู้ที่ผิดปกติ

อริสโตเติลได้รับเครดิตในการอธิบายปรากฏการณ์นี้เป็นครั้งแรกว่า
หลังจากจ้องมองไปสักพักที่น้ำตกที่กำลังไหลลง
หากเราลองปรับสายตาไปจ้องมองก้อนหินบนชายฝั่งแทน
หินจากนั้นก็ปรากฏขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ที่จะเลื่อนขึ้น

Wertheimer แสดงการสาธิตโดยใช้ภาพลายเส้นที่ขดเป็นเกลียว (spiral)
เมื่อกราฟิกที่คงที่นี้ถูกตั้งค่าในการเคลื่อนไหวให้หมุนวน
จะได้ความรู้สึกที่แตกต่างของการเคลื่อนไหวภายใน เส้นขดดูแน่นตึงขึ้น
ดูเหมือนว่ามันจะเล็กลงเรื่อย ๆ
ขนาดและรูปร่างของเกลียวไม่เปลี่ยนแปลง
ความรู้สึกเคลื่อนไหวการหดเกร็งนี้เป็นปรากฏการณ์บริสุทธิ์
  
หากลองทำให้เส้นมีความหนาไม่เท่ากัน โดยให้ปลายเส้นด้านนอกบางลงจนเรียวแหลม
เส้นจะปรากฏการณ์เคลื่อนที่จากด้านนอกของรูปไปยังด้านใน
ถึงแม้ว่าเกลียวหมุนเพียงในวงกลม
เอฟเฟกต์ที่เด่นชัดนี้ ชี้ให้เห็นว่ามันสำคัญกว่าการเคลื่อนไหวที่แท้จริง (การหมุน)
จนดูเหมือนว่าเป็นจังหวะหมุนวนลงท่อระบายน้ำ

และเมื่อเกลียวหยุดหมุน
และการหดตัวของการเคลื่อนไหวจะหยุดชะงักลง

Whole เป็นอะไรที่ไปมากกว่าผลรวมของ parts หรือไม่?
เรารับรู้โลกที่ถูกจัดการให้เป็นภาพรวม ไม่ได้รับรู้เป็นส่วนย่อยๆ
ภาพรวมจึงเป็นเหมือนการรับรู้ขั้นพื้นฐานของเรา ดังนั้น
พวกมันไม่ได้เกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกหรือประกอบขึ้นด้วยความรู้สึกพื้นฐาน
ดังนั้น Whole จึงไม่ได้สำคัญหรือเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าผมส่วนของส่วนต่างๆ
เพียงแต่มันเรียบง่ายและแยกตัวเองออกจากผลรวมนั้น

แนวคิดหลักที่อยู่เบื้องหลังทฤษฎีเกสตัลท์
การรับรู้ของมนุษย์มีคุณสมบัติหลักหลายประการที่ก่อให้เกิดกฏการรับรู้ของ Gestalt
สามารถจำแนกแนวคิดพื้นฐานการรับรู้ได้ 4 ประการ ที่ทำให้เห็นว่ามนุษย์เราสามารถรับรู้หรือตีความภาพที่เห็นได้หลายแบบ มนุษย์จึงมีการจัดระเบียบการรับรู้ของตนเองให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดและประสบการณ์เดิม แนวคิดเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยทำให้เรามีความเข้าใจยิ่งขึ้นต่อการศึกษาการรับรู้ของมนุษย์ ได้แก่

การรับรู้ถึงการปรากฏ EMERGENCE
The whole is identified before the parts (องค์รวมจะถูกรับรู้ก่อนหน่วยย่อย)
การปรากฏ (emergence) แปลโดยความหมายทั่วไป คือ กระบวนการปรากฎออกมาให้เห็น
(หลังจากสภาวะที่ยังไม่ได้เปิดเผย) หรือกระบวนการของการกลายเป็นสิ่งที่สำคัญเด่นชัด

Emergence จึงเป็นการหยั่งรู้ภาพรวมที่ปรากฏขึ้นในความคิดทันที
เกิดจากการเทียบเคียงเค้าร่างเข้ากับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่
สำหรับบางคนหรือบางกรณีอาจต้องอาศัยการสังเกตหน่วยย่อยที่ปรากฏในภาพ
แล้วค่อยตีความโดยการเปรียบเทียบกับรูปทรงหรือรูปแบบที่ตนเองมีประสบการณ์
เพื่ออนุมานภาพรวมหนึ่งๆ ให้ปรากฏขึ้นมา

ขณะที่เรามองวัตถุหนึ่งๆ
เรามักจะมองหาเส้นรอบนอก (outline) หรือรูปร่างของวัตถุนั้น
จากนั้นเราจึงจับคู่รูปร่างนี้กับรูปทรงและวัตถุที่เรารับรู้อยู่เดิมแล้ว
ทันทีที่ W ปรากฏตัวขึ้นผ่านการจับคู่กับรูปแบบ เราก็จะเริ่มระบุ Ps ที่ประกอบรวมขึ้นเป็น W หนึ่งๆ ขึ้นมาได้

เมื่อเรากำลังออกแบบ/ประพันธ์ จึงควรระลึกไว้เสมอว่าผู้คนจะรับรู้องค์ประกอบต่างๆ
จากรูปแบบทั่วๆ ไปที่คุ้นเคยก่อน สิ่งที่เข้าได้ง่ายใจง่ายจึงสามารถสื่อสารได้เร็วกว่าสิ่งที่มีรายละเอียดและยากต่อการจำแนก-จดจำรูปร่าง (contour)

การรับรู้ถึงความเป็นรูปธรรม REIFICATION
OUR MIND FILLS IN THE GAPS (จิตใจของเราจะเติมความลงในช่องว่าง)
เกษียร เตชะพีระ เคยเขียนถึงคำว่า Reificationใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13 – 19 ตุลาคม 2560 โดยอ้างถึงบทนำหนังสือ Siam Mapped ของ ธงชัย วินิจจะกูล เกี่ยวกับรากคิดของการบอกว่าคตินามธรรมอย่าง “ความเป็นไทย” เปรียบเสมือน thing หรือสิ่งของเครื่องใช้ โต๊ะ เก้าอี้ ทัพพี ฝาชี ฯลฯ อันเป็นวัตถุธรรม ก็คือแนวคิด reification (คำนาม) จากคำกริยาว่า reify อันแปลว่า “To regard or treat (an abstraction) as if it had concrete or material existence.” (American Heritage Dictionary) กล่าวคือ “การถือหรือปฏิบัติต่อ (นามธรรม – โดยเฉพาะที่สัมพันธ์แนบเนื่องกับมนุษย์) ราวกับมันดำรงอยู่อย่างเป็นรูปธรรมหรือวัตถุธรรม” หรือนัยหนึ่ง reification ก็คือ thingification หรือการถือปฏิบัติต่อนามธรรมเสมือนมันเป็นวัตถุสิ่งของหรือ thing นั่นเอง

Reification จึงเป็นลักษณะของการรับรู้ต่อวัตถุในแง่ข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial information) มากกว่าสิ่งที่มีอยู่จริง ในขณะที่เราพยายามจับคู่สิ่งที่เราเห็นกับรูปแบบคุ้นเคยที่เราจดจำ แม้จะไม่ตรงกันร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เรามักจะเติมบางอย่างลงในช่องว่างของสิ่งที่เราคิดว่าเราควรเห็นเสมอ

Reification จึงเป็นการรับรู้ที่แปรเปลี่ยนจากสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่มีอยู่ในภาพให้เกิดเป็นรูปธรรม
โดยถูกโน้มน้าวจากส่วนประกอบในภาพที่มีอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการเป็นเบาะแส
จนกระตุ้นให้เราสร้างรูปธรรมขึ้นในความคิดได้

Reification จึงสะท้อนให้เห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องนำเสนอรูปร่างที่สมบูรณ์เพื่อให้ผู้ชม/ผู้ฟังเห็นทั้งหมด
และเราสามารถแยกส่วนของรูปร่างนั้นๆ ออกได้
ตราบที่เราจัดการองค์ประกอบต่างๆ ให้เพียงพอต่อการจับคู่ทางความคิด (สิ่งที่เห็นกับสิ่งที่รู้จัก)

การรับรู้หลายนัย MULTI-STABILITY
(ความคิดจะพยายามหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน)
คือแนวโน้มของการรับรู้ที่ไม่ชัดเจน เกิดการตีความที่โยกย้ายไปมาระหว่างทางเลือกที่มากกว่าหนึ่ง
วัตถุบางอย่างสามารถรับรู้ได้มากกว่าหนึ่งวิธี หากดูภาพตัวอย่างในส่วน figure/ground
จะพบว่าเป็นสิ่งที่คุณเคยเห็นมาก่อน เราสามารถมองเห็นใบหน้า 2 หน้า หรือเป็นแจกันก็ได้

แต่คุณจะไม่เห็นทั้งคู่ในการมองครั้งเดียว แต่จะกลับไปกลับมาระหว่างทางเลือกทั้งสอง
จะสังเกตได้ว่าคุณจะมีแนวโน้มที่จะรับรู้ภาพหนึ่งชัดกว่าอีกภาพ บางคนเห็นแจกัน บางคนเห็นใบหน้าก่อน

กล่าวได้ว่า Multi-stability คือการรับรู้ภาพที่เห็นได้หลากหลายรูปแบบ
แต่เราอาจไม่สามารถประมวลรูปแบบที่ได้จากภาพพร้อมๆ กัน
โดยจะสามารถตีความได้ทีละรูปแบบเท่านั้น

ในการออกแบบ หากคุณต้องการเปลี่ยนการรับรู้ของใครบางคน อย่าพยายามเปลี่ยนทุกอย่างทันที
แต่ให้ค้นหาวิธีที่จะทำให้พวกเขาเห็นทางเลือกอื่นๆ จากนั้นพยายามเสริมความแข็งแรงให้กับมุมมองทางเลือกนั้น ขณะเดียวกันก็ทำให้มุมมองหลักเบาหรือชัดเจนน้อยลง การรับรู้ก็จะสามารถเปลี่ยนขั้วได้

การรับรู้ที่ไม่แปรปรวน INVARIANCE
(เรารับรู้ถึงความคล้ายและความต่างได้เป็นอย่างดี)
Invariance เป็นคุณสมบัติการรับรู้ต่อรูปร่างของสิ่งๆ หนึ่งที่จะไม่เปลี่ยนไป
แม้จะมีความเปลี่ยนแปลงของทัศนียภาพการมองเห็นก็ตาม
ทั้งในแง่ทิศทางหรือการย่อขยาย เช่น การหมุนตัว (rotation) ขนาด (scale)
การย้ายตำแหน่ง (relocation)
หรือ การเปลี่ยนมุมมองทางการมอง (sight deformation) เป็นต้น
เนื่องจากเรามักพบวัตถุจากมุมมองที่แตกต่างกัน
เราจึงพัฒนาความสามารถในการจดจำวัตถุเหล่านั้นแม้จะมีลักษณะรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันก็ตาม

เกสตัลท์กับการออกแบบ
หากกล่าวถึงหลักการเกี่ยวกับการออกแบบ มันมักเริ่มต้นด้วยหลักการเกสตัลท์
เพราะหลักการออกแบบที่ตามมานั้น จะเกี่ยวโยงกับทฤษฎีเกสตัลท์ทางใดทางหนึ่ง
และนี่คือคำแนะนำผ่านทฤษฎีและคำจำกัดพื้นฐานของหลักการเกสตัลท์

คํา􏰂ว่า เก􏰁สตัลท์ (Gestalt) ในรากภา􏰀ษาเยอรมัน 􏰄หมายถึง รูปแบบ (form) หรือ รูปทรง (shape) อันมีผลต่อความคิดและการรับรู้ของมนุษย์
“ทั้งหมดเป็นมากกว่าผลรวมของชิ้นส่วนต่างๆ” (The whole is other than the sum of the parts. – Kurt Koffka) ข้อความสั้นๆ ข้างต้นเป็นเหมือนการสรุปใจความของเกสตัลท์
เมื่อมนุษย์มองเห็นกลุ่มของสิ่งต่างๆ เรามักจะรับรู้ภาพรวมก่อนที่จะเห็นวัตถุแต่ละชิ้น
เราจะเห็น W (whole) มากกว่าผลรวมของ Ps (parts) แม้ว่าชิ้นส่วนจะแยกจากกันโดยสิ้นเชิง
เราก็จะจัดกลุ่มจนมองเห็นทั้งหมดได้เสมอ

Gestalt กลายมาเป็นศูนย์กลางของการออกแบบในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา (และน่าจะยังคงเป็นต่อไป)
เมื่อการออกแบบคือการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างภาพ (visual forms) ที่แตกต่างกันอย่างตั้งใจ
การสังเคราะห์สิ่งที่ต้องคิดถึงผลที่ตามมาจากการบรรจุและนำพาความหมายของกราฟิก
จึงเป็นเรื่องสำคัญและไม่ควรมองข้าม

เราอาจคุ้นเคยกับภาพสองนัยของแจกันที่มีสองใบหน้า
มันถูกอธิบายครั้งแรกโดยนักจิตวิทยาชาวเดนมาร์ก Edgar Rubin ในปี 1915
ที่ช่วยเปิดเผยว่าสมองของเราแยกแยะรูปร่าง (figure) และพื้นหลัง (ground) ออกจากกันอย่างชัดเจน
รูปแบบ positive ของแจกันยึดโยงอยู่กับพื้นที่ negative ของเงาดำที่เป็นใบหน้ามนุษย์สองคน
เมื่อมองภาพจะปรากฏเป็นแจกันเป็นอันดับแรก
แต่เมื่อความสนใจถูกเลื่อนไปที่ช่องว่าง ภาพใบหน้าคนทั้งสองด้านก็จะปรากฏขึ้น

ความสัมพันธ์ของ figure และ ground กลายเป็นความคลุมเครือและมีรูปแบบพลิกกลับไปกลับมา
ทั้งนี้ด้วยคุณสมบัติในการรับรู้ของเราเอง
การพลิกแจกันกลับเป็นใบหน้าถูกทำโดยการจัดวางอย่างพิถีพิถัน (การออกแบบ)
จนเป็นรูปแบบกราฟิกที่แม่นยำ ทั้งการกำกับช่องว่าง ความสมดุล รูปร่าง
เส้นสายของทั้ง positive–negative ได้รับการจัดการให้เกิดความเสมอภาคต่อการมองเห็นต่อความเป็นไปได้ทั้งสองนี้ จนกลายเป็นคุณสมบัติและทักษะพื้นฐานที่สำคัญต่อการออกแบบกราฟิก

เก􏰁สตัลท์ จึงเป็นหลักการที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อนักออกแบบกราฟิก ไม่ว่านิยาม บทบาท และขอบเขตของการออกแบบกราฟิกจะปรับเปลี่ยนหรือขยับขยายไปตามยุคสมัยอย่างไรก็ตาม

Fikra Graphic Design Biennial 01 — De-centering English

Text by Santi Lawrachawee

Fikra Graphic Design Biennial 01
Conference, Nov 10
2 – 2:50pm

De-centering English

HUDA ABIFARÈS, SANTI LAWRACHAWEE, AND ASAD PERVAIZ
FIRST FLOOR, DEPT. OF MAPPING MARGINS

We would need to move to a space of gesture and performance if we would want to imagine a de-colonial, critical graphic design. We would have to allow expression to erupt into poetry and storytelling as a way to contest normative forms of design. When different languages are involved, world-making becomes plural. For De-centering English, three designers come together to make sense of how the visual might be interpreted without relying on the structures that uphold linguistics. What multiplicity of forms emerge from such conversations? How do we map this diversity of overlapping margins?

Interview — Xspace Gallery

Talk with Artist

นักออกแบบผู้ก้าวข้ามพรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกดีไซน์ สันติ ลอรัชวี

ถ้าพูดถึงชื่อ สันติ ลอรัชวี คนรักงานกราฟิกดีไซน์คงรู้จักเขาเป็นอย่างดีในฐานะนักนักออกแบบกราฟิกชาวไทย ผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอกราฟิกดีไซน์ แพรคทิเคิล (Practical Design Studio) ผลงานของเขามักจะเป็นการสำรวจความเป็นระบบภาษาของกราฟิกและไทโปกราฟี หรือการออกแบบตัวพิมพ์ เขามักจะนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการสื่อสารและแสดงออกทางความคิดของเขา 

ผลงานของสันติที่หลายคนน่าจะเคยคุ้นตาคืองานแบบปกหนังสือหลากหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นปกหนังสือชุด Wisdom Series อันประณีตงดงาม ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา แห่งสำนักพิมพ์ openbooks หรือปกหนังสือ มูซาชิ อันเรียบง่ายเฉียบคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานการออกแบบปกหนังสือ สิทธารถะ ของ เฮอร์มาน เฮสเซ ฉบับภาษาไทย ที่ออกแบบและผลิตอย่างประณีต พิถีพิถัน และงดงามไม่ต่างอะไรกับงานศิลปะ โดยพิมพ์ในจำนวนจำกัดเพียงแค่ 1,000 เล่ม และเปิดให้เข้าไปจับจองทางออนไลน์ ซึ่งก็สร้างปรากฏการณ์ด้วยการที่หนังสือถูกจองจนหมดเกลี้ยงภายในเวลาแค่ 12 ชั่วโมง

สันติได้รับรางวัล Designer of the Year สาขาการออกแบบกราฟิกจากนิตยสาร Wallpaper* และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เขายังเป็นนักออกแบบกราฟฟิกชาวไทยคนแรกที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงาน Graphic Trial โครงการประจำปีที่สำรวจความก้าวหน้าด้านกราฟิกดีไซน์และการแสดงออกเกี่ยวกับศิลปะการพิมพ์ที่จัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ Printing Museum ที่โตเกียว ในปี 2018

เขายังทำผลงานที่คาบเกี่ยวระหว่างพรมแดนของศิลปะและงานดีไซน์ ดังเช่นในผลงานชุด A State of Mind (2020) ที่สื่อสารแนวคิดเกี่ยวกับสภาวะจิตใจและความเป็นตัวตนผ่านกระบวนการทำงานกราฟิกดีไซน์อันซับซ้อนไปจนถึงเรียบง่ายในรูปแบบของงานโปสเตอร์ดีไซน์เชิงทดลอง ที่ใช้เทคนิคการพิมพ์อันสลับซับซ้อน ทั้งรูปวงกลมและรัศมี ที่ดูนิ่ง สงบ สมดุล ไปสู่รูปที่สะท้อนสภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมที่เข้ามาปะทะ ทั้งใบหน้ายิ้ม โกรธขึ้ง ขึงขัง โดยตำแหน่งของรูปทรงเรขาคณิตที่แสดงถึงสภาวะอารมณ์เหล่านี้ถูกเปลี่ยนไปอย่างเป็นระบบระเบียบตามหลักตรรกะและคณิตศาสตร์ในงานกราฟิกดีไซน์

ด้วยความที่สันติกำลังจะเข้ามาเป็นหนึ่งในศิลปินที่ร่วมแสดงผลงานใน Xspace เร็วๆ นี้ เราจึงถือโอกาสแนะนำเรื่องราวเกี่ยวกับตัวตนและผลงานของเขาให้อ่านกัน

Continue reading “Interview — Xspace Gallery”

Interview — The Cloud

10 ปีแห่งความทรงจำที่กลั่นเป็นนิทรรศการ — สนทนากลางสตูดิโอกึ่งห้องสมุดของ สันติ ลอรัชวี นักออกแบบกราฟิก ในวันที่จัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งล่าสุด “MemOyoU”

STUDIO VISITS
Writer: นิรภัฎ ช้างแดง
Photographer: เธียรสิน สุวรรณรังสิกุล และ วินัย สัตตะรุจาวงษ์

อารัมภบทเป็นส่วนเกินของบทความทันที

เมื่อรู้ว่าวันนี้มีนัดหมายพูดคุยและเยี่ยมชมสตูดิโอของ ติ๊ก-สันติ ลอรัชวี หรือ ‘อาจารย์ติ๊ก’ ของเหล่านักเรียนออกแบบ บิ๊กเนมในวงการกราฟิกดีไซเนอร์และวงการศิลปะของไทย ผู้มีผลงานให้เราได้ทึ่งอยู่เสมอ

บางคนรู้จักสันติในฐานะนักออกแบบกราฟิก ผ่านปกหนังสือ Wisdom Series ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมาสิทธารถะ เวอร์ชันแปลไทยโดย สดใส ขันติวรพงศ์ ฉบับ Book Lover Edition และโดยเฉพาะโปรเจกต์ ‘ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย (I am a Thai Graphic Designer™)’ กิจกรรมของกลุ่มวิชาชีพที่เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย

บางคนรู้จักสันติในฐานะศิลปิน ผ่านนิทรรศการ Yes, I am not. (2008), เข้านอกออกใน-อุโมงค์คำว่า “กรุงเทพ” ที่มุดลอดเดินวนเล่นได้อย่างสนุกสนานในงานศิลปวัฒนธรรม “บางกอก…กล๊วย…กล้วย!!” (2009), หรือจากแถวหนังสือหนาเกือบเมตร มีรูเจาะตรงกลาง ในนิทรรศการสถานพักตากอากาศ (2013)

Continue reading “Interview — The Cloud”

Interview — Sarakadee Lite

“การออกแบบเป็นกิจกรรมของมนุษย์” สนทนาว่าด้วยการออกแบบในมุมมอง สันติ ลอรัชวี

Text: อชิตพนธิ์ เพียรสุขประเสริฐ
https://www.sarakadeelite.com/faces/santi-lawrachawee/

Continue reading “Interview — Sarakadee Lite”

News — MemOyoU — Kooper

“ …ในบางศาสนา แม่น้ำคือสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนผ่าน และนี่อาจเป็นหนึ่งเหตุผลที่มีภาพของแม่น้ำมากมายในนิทรรศการนี้ หลังจากวนเวียนอยู่กับความทรงจำชุดนี้มาสิบปี นี่คือนิทรรศการที่เป็นเหมือนข้อตกลงร่วมกัน (Memorundum of Understanding) กับตัวเองว่าขอขอบคุณที่ช่วยประคับประคองกันมา แต่ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องก้าวต่อไปแล้ว”

Date | June 15, 2021
Writer | Chidsupang Chaiwiroj

ศูนย์กลางอยู่ทุกหนแห่ง

บทความว่าด้วยการสำรวจตัวพิมพ์ไทยฉบับย่อ
โดย สันติ ลอรัชวี

หากย้อนกลับไปสำรวจแบบตัวพิมพ์ไทย ในช่วงศตวรรษที่ ๑๘ 
จะพบว่ากว่าหนึ่งร้อยปีที่การพิมพ์ในประเทศไทยได้ขาดช่วงไป
จนกระทั่งถึงช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕)
กระบวนการพิมพ์จึงได้กลับสู่เมืองไทย
ทำให้รูปแบบตัวอักษรไทยเกิดความก้าวหน้าขึ้นอีกครั้ง Continue reading “ศูนย์กลางอยู่ทุกหนแห่ง”

เข้าแบบ – ออกแบบ

FAB Special Talk Tuesday Series
ครั้งที่ 1 วันอังคารที่ 16 มกราคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Moderator
จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์ – บรรณาธิการบริหาร a day
Speaker
สุรชัย พุฒิกุลางกูร – กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิลลูชั่น จำกัด
สันติ ลอรัชวี – นักออกแบบ แพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ

ขอขอบคุณ
คณาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
และกลุ่มนักศึกษาที่รักที่ช่วยถอดเทปการเสวนาให้ มา ณ โอกาสนี้ครับ

26850620_1625246850887561_5921974047768638063_o.jpg
ขอบคุณภาพจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Continue reading “เข้าแบบ – ออกแบบ”

บันทึกการบรรยาย สัญศาสตร์การออกแบบ

โดย สันติ ลอรัชวี
ศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 ผ่านโปรแกรม Zoom.us 

สวัสดีครับ นักศึกษาและทุกท่านที่สนใจเข้ารับฟังบรรยายในครั้งนี้
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Design Semiotics
ภายใต้หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
ขอขอบคุณหลักสูตรฯ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับที่ให้โอกาสกับผมในการสอนวิชานี้มาอย่างต่อเนื่อง

ทำไมนักออกแบบถึงสนใจสัญศาสตร์?
ผมมารู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นผู้สอนวิชาสัญศาสตร์กับการออกแบบมาร่วม 10 ปีแล้ว
อย่างไรก็ตามผมยอมรับกับตัวเองมาหลายปีแล้วว่า
ตนเองเป็นเพียงนักออกแบบที่สนใจศึกษาสัญศาสตร์
และพยายามนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานออกแบบของตนเอง
แนวทางการสอนของผมจึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับ
แนวคิดด้านสัญศาสตร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในกระบวนการออกแบบและการนำเสนอผลงาน
รวมถึงการวิเคราะห์ หรือ ที่ผมมักเรียกว่า “การอ่านออก-เขียนภาพ (visual literacy)”
ต่องานออกแบบให้ละเอียดละออยิ่งขึ้น Continue reading “บันทึกการบรรยาย สัญศาสตร์การออกแบบ”

อ่านออก เขียนภาพ

โดย สันติ ลอรัชวี
(เอกสารประกอบเวิร์คช็อป Visual Literacy
จัดโดย PRACTICAL Design Studio, 7 ต.ค. 2560)

การอ่านภาพ (Visual Literacy)  อธิบายได้ว่าคือความสามารถในการเข้าใจและใช้ภาพ
รวมทั้งความสามารถในการคิด ในการเรียน และแสดงออกของตัวเองต่อภาพที่มองเห็น
ไม่มีใครปฏิเสธว่า “ภาพ” เป็นสิ่งหนึ่งช่วยให้การสื่อสารสมบูรณ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาจสรุปได้ว่าการอ่านภาพคือความสามารถทางด้านการมองเห็นของมนุษย์
และใช้ความสามารถนั้นในการจำแนกและแปลความหมาย
สิ่งที่มองเห็นเพื่อการติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และมีสุนทรียภาพ

คำว่า Visual Literacy สามารถแยกแปลความหมายของคำนี้ได้คือ
“Visual” หมายถึงสิ่งที่เกี่ยวกับจักษุประสาทหรือสิ่งที่ตามองเห็น
ซึ่งอาจเรียกรวมว่า “ภาพ” ก็ได้
“Literacy” หมายถึงความสามารถในการอ่านเขียนหรือการเรียนรู้

“การอ่านออกเขียนภาพ” จึงเป็นรูปแบบของการคิดที่สำคัญ
ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางการสื่อสารเชิงภาพให้กับนักออกแบบ
การสื่อและรับสารทางสายตานั้นมีความผูกพันกับมนุษย์ก่อนจะมีภาษาพูดและเขียนด้วยซํ้า
ภาพเขียนในผนังถํ้า การสังเกตสีของผลไม้ พัฒนามาเป็นสัญลักษณ์สากลมากมายที่เราใช้กันในปัจจุบัน หากแต่มนุษย์เริ่มคิดผ่านอิทธิพลของ ภาษาหลังจากที่อารยธรรมด้านภาษาของเราวิวัฒน์มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นภาษา (Linguistics) จึงเป็นระบบการสื่อสารที่มี อิทธิพลต่อมนุษย์ เราทั้งใช้มันในการคิด การรับรู้ และการแสดงออก ผ่านเงื่อนไขการเรียนรู้และการใช้งานในชีวิตประจำวัน จึงอาจกล่าวได้ว่าการสื่อสารเชิงภาพจึงผูกติดอยู่กับการรับรู้ทางภาษาอย่างเหนียวแน่น Continue reading “อ่านออก เขียนภาพ”

ความท้าทายของการออกแบบ

เรียบเรียงจาก Series Foreward, Design Thinking, Design Theory Series ของ MIT Press
โดย สันติ ลอรัชวี

หนังสือชุด Design Thinking, Design Theory Series ของ MIT Press ได้ตีพิมพ์หนังสือที่เสนอแนวคิดและทฤษฎีการออกแบบที่ควรค่าแก่การอ่านหลายต่อหลายเล่ม ส่วนที่น่าสนใจคือบทบรรณาธิการชุดหนังสือ ( Series Foreward) ที่เขียนโดยสองบรรณาธิการ ได้แก่ เคน ฟรีดแมน และ อีริค สโทลเทอร์แมน ที่กล่าวถึงความเป็นมาของการออกแบบจนมาถึงความท้าทายที่นักออกแบบทุกสาขากำลังเผชิญร่วมกัน 10 ประการ อันเป็นประเด็นที่ชวนให้นักออกแบบมาคิดต่อถึงบทบาทหน้าที่ คุณค่า และนิยายามของสิ่งที่เรากำลังเรียกมันเป็นอาชีพ หากสิ่งที่เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนนั่นคือ “การออกแบบ” Continue reading “ความท้าทายของการออกแบบ”

พรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกไซน์

สนทนากับนักออกแบบระดับแนวหน้าของไทยผู้ก้าวข้ามพรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกไซน์
โดย ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์
เครดิตจาก Wurkon
ภาพถ่ายบุคคลโดย ศุภชัย เกศการุณกุล

ถ้าพูดถึงชื่อ สันติ ลอรัชวี คนรักงานกราฟิกดีไซน์คงรู้จักเขาเป็นอย่างดีในฐานะนักออกแบบกราฟิกชั้นแนวหน้าของไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง แพรคทิเคิล สตูดิโอ (Practical Design Studio) สตูดิโอออกแบบชั้นนำของประเทศไทย เจ้าของผลงานออกแบบปกหนังสือของสำนักพิมพ์ openbooks มากมายหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นในชุด Wisdom Series อันประณีตงดงาม ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และปกหนังสือ มูซาชิ อันเรียบง่ายเฉียบคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานการออกแบบปกหนังสือ สิทธารถะ ของ เฮอร์มาน เฮสเซ ฉบับภาษาไทย ที่ออกแบบและผลิตอย่างประณีต พิถีพิถัน และงดงามราวกับเป็นงานศิลปะ และพิมพ์ในจำนวนจำกัดเพียงแค่ 1,000 เล่ม โดยเปิดให้เข้าไปจับจองทางออนไลน์ ก็สร้างปรากฏการณ์ด้วยการที่หนังสือถูกจองจนหมดเกลี้ยงภายในเวลาแค่ 12 ชั่วโมง

นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้ออกแบบนิทรรศการศิลปะและการออกแบบอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการ Show Me Thai ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย (Museum of Contemporary Art) โตเกียว, นิทรรศการ The Mekong Art and Culture Project (2006) และ Talk About Love หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BUG), เขายังเป็นผู้ปรับปรุงสัญลักษณ์และอัตลักษณ์องค์กรให้หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) และ หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BUG)

เขายังเป็นหนึ่งในตัวตั้งตัวตีในการจัดกิจกรรมทางดีไซน์อย่าง “ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย” (I am a Thai Graphic Designer™) (2009) และ Somewhere Thai (2010) ที่สร้างความคึกคักให้กับวงการดีไซน์ของไทยที่สุดในรอบหลายปี

เขาได้รับรางวัล Designer of the Year สาขาการออกแบบกราฟิกจากนิตยสาร Wallpaper* และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และยังเป็นนักออกแบบกราฟฟิกชาวไทยคนแรกที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงาน Graphic Trial โครงการประจำปีที่สำรวจความก้าวหน้าด้านกราฟิกดีไซน์และการแสดงออกเกี่ยวกับศิลปะการพิมพ์ที่จัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ Printing Museum ที่โตเกียว ในปี 2018

ปัจจุบันนอกจากจะเป็นนักออกแบบแล้ว เขายังเป็นอาจารย์ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, เป็นผู้บรรยายพิเศษให้กับมหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ และเป็นนักเขียนรับเชิญให้กับนิตยสารหลากหลายหัว

ด้วยความที่เราเป็นแฟนผลงานของเขามาเนิ่นนาน เราจึงถือโอกาสเข้าไปเยี่ยมเยียนเขาถึงสตูดิโอ แพรคทิเคิล ในตึกหน้าตาย้อนยุคแต่เก๋ไก๋ย่านซอยทองหล่อ เพื่อพูดคุยกับเขาถึงต้นตอของแนวคิด แรงบันดาลใจ และกระบวนในการทำงานออกแบบของเขา เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาฟังเรื่องราวจากเขากันเถอะ

Continue reading “พรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกไซน์”

Interview — Cloud of thoughts: โดยสันติ

Writer: จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์
Photographer: มณีนุช บุญเรือง
เครดิตจาก The Cloud

ท่ามกลางผลงานของนักออกแบบสัญชาติญี่ปุ่นในงาน Graphic Trial 2018 ที่ Printing Museum Tokyo มีผลงานของนักออกแบบไทยปรากฏอยู่

นี่เป็นครั้งแรกที่นักออกแบบกราฟิกไทยได้รับเชิญไปร่วมสร้างและแสดงงาน

เจ้าของผลงานนั้นคือ สันติ ลอรัชวี

ตั้งแต่วันแรกที่เข้าวงการจนถึงวันนี้และวันหน้า สันติบอกว่าเขาคือ กราฟิกดีไซเนอร์

“ผมจะพยายามเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ในประเทศไทยที่ทำจนตาย” เขาเอ่ยประโยคนี้ระหว่างที่เรานั่งคุยกันในร้านกาแฟใกล้ๆ PRACTICAL Design Studio ที่เขาเป็นผู้ก่อตั้ง

ผลงานที่ผ่านมาของเขามากมายเกินกว่าจะไล่เรียงได้หมดภายในย่อหน้าเดียว ในปี 2015 เขาได้รับรางวัล Designer of the Year สาขาการออกแบบกราฟิกจากนิตยสาร Wallpaper* และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

แต่หากจะให้ยกตัวอย่าง ผลงานล่าสุดของเขาที่น่าจะคุ้นตานักอ่านคือหน้าปกหนังสือ The Wisdom Series ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ทุกเล่ม ไล่ตั้งแต่ ปัญญาอนาคต, ปัญญาอดีต และปัญญาหนึ่งถึงร้อยหมื่น

เมื่อรู้ว่าเขาได้รับเชิญไปแสดงงานที่ญี่ปุ่น ผมจึงนัดพบเขาในบ่ายวันหนึ่งเพื่อคุยกันถึงสิ่งที่เขาได้ค้นพบจากดินแดนที่งานออกแบบกราฟิกก้าวหน้าและชวนตื่นตาที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และยังเป็นดินแดนที่สิ่งพิมพ์ยังปักหลักแข็งแรงที่สุดดินแดนหนึ่ง

แล้วก็เหมือนทุกๆ ครั้งที่เจอกัน เรื่องเล่าของเขามีพลังเสมอ

และนี่คือเรื่องเล่าโดยสันติ

Continue reading “Interview — Cloud of thoughts: โดยสันติ”

Santi x UGS

UGS (Ubies Gallery Store) has opened!
Look at the top 30 artists in Asia featured for the 1st launch! We are very proud of sharing awesome Asian creators to you.

UGS is not a place to sell “designed stuff”, but very proud of introducing cool, awesome and high-quality art to consumers, it should be “gallery attitude”.

Screen Shot 2561-12-06 at 00.24.13

Design is attitude

img_0628
Image: http://www.tm-research-archive.ch

Helmut Schmid เกิดในปี 1942 ณ ประเทศออสเตรียในฐานะพลเมืองเยอรมัน เขาศึกษาในสวิสเซอร์แลนด์ที่โรงเรียนออกแบบบาเซิลภายใต้การสอนของ Emil Ruder, Kurt Hauert และ Robert Buchler

เขาทำงานในเบอร์ลินตะวันตกและสตอกโฮล์ม (Grafisk Revy) ต่อมาที่มอนทรีออล (Ernst Roch Design) และแวนคูเวอร์ หลังจากนั้นเขาทำงานที่โอซาก้าให้ NIA (Taiho Pharmaceutical และ Sanyo) และในปี 1973-76 มาทำที่ ARE ในดัสเซลดอร์ฟเขาออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับรัฐบาลเยอรมนีและนายกรัฐมนตรี Willy Brandt และ Helmut Schmidt ออกแบบสัญลักษณ์การรณรงค์เลือกตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์ ในปี 1976 และได้จัดแสดงนิทรรศการการออกแบบตัวอักษรเชิงการเมืองของเขา (politypographien) ที่ Print Gallery ในอัมสเตอร์ดัม จากนั้นหันมาเป็นนักออกแบบอิสระในโอซาก้าตั้งแต่ปี 1981 ได้รับเชิญเป็นสมาชิกของ AGI (Alliance Graphique Internationale) ตั้งแต่ปี 1988

เขาเป็นนักออกแบบและบรรณาธิการให้กับนิตยสาร idea (Seibundo Shinkosha, Tokyo 1980) ในฉบับ Typography Today และฉบับพิเศษของ Swiss TM (1973) เคยบรรยายในหัวข้อ Typography, seen and read ในซีอาน ประเทศจีน และมีผลงานออกแบบหนังสือ ได้แก่ the japan typography annual 1985, Takeo Desk Diary และ Hats for Jizo (Robundo, Tokyo 1988) และผลงานอื่นๆ อีกมาก ผลงานออกแบบของเขามีเอกลักษณ์ของการผสมผสานวิถีประเพณีของญี่ปุ่นกับความเป็นสมัยใหม่แบบตะวันตก ยกตัวอย่างผลงานออกแบบชุดตัวอักษร katakana eru ของเขาที่เราจะเห็นมันบนบรรจุภัณฑ์ญี่ปุ่นแทบทุกชิ้น

หากแต่ผู้เขียนรู้จัก Helmut Schmid ผ่านหนังสือเพียงเล่มเดียวของเขา “gestaltung ist haltung” แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า design is attitude แค่ชื่อหนังสือก็พาให้คิดไปได้เรื่อยๆ ระหว่างการเดินทางในสายออกแบบเลยทีเดียว เขียนโดย Victor Malsy, Philipp Teufel และ Fjodor Gejko หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมเอกสารงานออกแบบของ schmid ตั้งแต่ปี 1961 จนถึงปีที่หนังสือออก (2007) ในเล่มรวบรวมทั้งพื้นฐานทางความคิดทางการออกแบบ กราฟิก ตัวอักษร ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ การอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างพิถีพิถันจึงสร้างบทสนทนาของตนเองขึ้นมาได้ สำหรับผู้เขียนนี่เป็นหนังสือด้านออกแบบอีกเล่ม (ในจำนวนไม่เกิน 10 เล่ม) ที่หยิบมาพลิกอ่านเวลามีคำถามในการงานของตนเอง

Wim Crouwel นักออกแบบกราฟิกระดับมาสเตอร์กล่าวถึง Schmid ไว้ว่า
“ผลงานไทโปกราฟีของเขามีจังหวะและท่วงทำนอง
มันถูกสร้างสรรค์ด้วยตา หากคล้ายดั่งโน้ตดนตรี”

วันที่ 2 กค. 2561
เนื่องด้วยการจากไปของนักออกแบบที่นับถืออีกท่านหนึ่ง
ผู้เขียนจึงขอบันทึกเพื่อระลึกถึงแนวคิดและความรู้ที่ได้ศึกษา
จากมาสเตอร์อีกท่านที่ไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัว

ด้วยความเคารพอย่างสูง
สันติ ลอรัชวี

อ่านบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ที่
http://www.tm-research-archive.ch/interviews/helmut-schmid%E2%80%8A/

The Matter : นี่ไม่ใช่แม่น้ำ

“นี่ไม่ใช่แม่น้ำ” ว่าด้วยแนวคิดการออกแบบหนังสือสิทธารถะ กับปรากฏการ Sold out ภายใน 12 ชั่วโมง!
OCTOBER 21, 2016
Interview by Kamolkarn Kosolkarn
Photo by Santi Lawrachawee

หลังจากการประกาศของสำนักพิมพ์ openbooks ว่าจะมีการจัดจำหน่ายหนังสือวรรณกรรมทรงคุณค่าอย่างสิทธารถะ เขียนโดยเฮอร์มาน เฮสเซ ฉบับภาษาไทย ที่พิมพ์จำกัดจำนวนเพียง 1,000 เล่ม และเปิดโอกาสให้นักอ่านเข้าไปจับจองผ่านเว็บไซต์ ได้สร้างให้เกิดปรากฏการณ์คือ หนังสือทั้งหมดถูกจับจองภายในเวลาเพียง 12 ชั่วโมง

ไม่ว่าเหตุผลเบื้องหลังจะเป็นเนื้อหาที่เปลี่ยนวิธีการมองโลกให้คนอ่าน สำนวนแปลภาษาไทยโดยอาจารย์สดใส หรือการออกแบบเล่มหนังสือที่เต็มไปด้วยความหมาย ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็กำลังตั้งคำถามต่อวงการหนังสือไว้อย่างน่าสนใจ Continue reading “The Matter : นี่ไม่ใช่แม่น้ำ”