Interview — Xspace Gallery

Talk with Artist นักออกแบบผู้ก้าวข้ามพรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกดีไซน์ สันติ ลอรัชวีถ้าพูดถึงชื่อ สันติ ลอรัชวี คนรักงานกราฟิกดีไซน์คงรู้จักเขาเป็นอย่างดีในฐานะนักนักออกแบบกราฟิกชาวไทย ผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอกราฟิกดีไซน์ แพรคทิเคิล (Practical Design Studio) ผลงานของเขามักจะเป็นการสำรวจความเป็นระบบภาษาของกราฟิกและไทโปกราฟี หรือการออกแบบตัวพิมพ์ เขามักจะนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในการสื่อสารและแสดงออกทางความคิดของเขา  ผลงานของสันติที่หลายคนน่าจะเคยคุ้นตาคืองานแบบปกหนังสือหลากหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นปกหนังสือชุด Wisdom Series อันประณีตงดงาม ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา แห่งสำนักพิมพ์ openbooks หรือปกหนังสือ มูซาชิ อันเรียบง่ายเฉียบคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานการออกแบบปกหนังสือ สิทธารถะ ของ เฮอร์มาน เฮสเซ ฉบับภาษาไทย ที่ออกแบบและผลิตอย่างประณีต พิถีพิถัน และงดงามไม่ต่างอะไรกับงานศิลปะ โดยพิมพ์ในจำนวนจำกัดเพียงแค่ 1,000 เล่ม และเปิดให้เข้าไปจับจองทางออนไลน์ ซึ่งก็สร้างปรากฏการณ์ด้วยการที่หนังสือถูกจองจนหมดเกลี้ยงภายในเวลาแค่ 12 ชั่วโมง สันติได้รับรางวัล Designer of the Year สาขาการออกแบบกราฟิกจากนิตยสาร Wallpaper* และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ … Continue reading Interview — Xspace Gallery

Interview — IDEA magazine Issue#394

IDEA magazine Issue#394Interview with Santi Lawrachawee Q1 Please introduce yourself briefly. Hi! Sawasdee krub, ผมชื่อสันติ ลอรัชวี ผมเป็นนักออกแบบกราฟิก ศิลปินทัศนศิลป์ และอาจารย์ด้านการออกแบบให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย โดยได้ร่วมเปิดสตูดิโอออกแบบที่ชื่อ PRACTICAL Design Studio และล่าสุดได้ร่วมเปิดพื้นที่การเรียนรู้ด้านการออกแบบที่ชื่อว่า PRACTICAL school of design โดยทำงานศิลปะและงานเขียนบทความควบคู่ไปกับการทำงานออกแบบและงานสอน Hi! Sawasdee krub, my name is Santi Lawrachawee. I am a Thai graphic designer, artist, and instructor who has been instructing in multiple universities across Thailand. … Continue reading Interview — IDEA magazine Issue#394

Interview — The Cloud

10 ปีแห่งความทรงจำที่กลั่นเป็นนิทรรศการ — สนทนากลางสตูดิโอกึ่งห้องสมุดของ สันติ ลอรัชวี นักออกแบบกราฟิก ในวันที่จัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งล่าสุด “MemOyoU” https://readthecloud.co/santi-lawrachawee/ STUDIO VISITSWriter: นิรภัฎ ช้างแดงPhotographer: เธียรสิน สุวรรณรังสิกุล และ วินัย สัตตะรุจาวงษ์— อารัมภบทเป็นส่วนเกินของบทความทันที เมื่อรู้ว่าวันนี้มีนัดหมายพูดคุยและเยี่ยมชมสตูดิโอของ ติ๊ก-สันติ ลอรัชวี หรือ ‘อาจารย์ติ๊ก’ ของเหล่านักเรียนออกแบบ บิ๊กเนมในวงการกราฟิกดีไซเนอร์และวงการศิลปะของไทย ผู้มีผลงานให้เราได้ทึ่งอยู่เสมอ บางคนรู้จักสันติในฐานะนักออกแบบกราฟิก ผ่านปกหนังสือ Wisdom Series ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา, สิทธารถะ เวอร์ชันแปลไทยโดย สดใส ขันติวรพงศ์ ฉบับ Book Lover Edition และโดยเฉพาะโปรเจกต์ ‘ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย (I am a Thai Graphic Designer™)’ กิจกรรมของกลุ่มวิชาชีพที่เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย บางคนรู้จักสันติในฐานะศิลปิน ผ่านนิทรรศการ Yes, I am not. (2008), เข้านอกออกใน-อุโมงค์คำว่า “กรุงเทพ” ที่มุดลอดเดินวนเล่นได้อย่างสนุกสนานในงานศิลปวัฒนธรรม “บางกอก…กล๊วย…กล้วย!!” (2009), หรือจากแถวหนังสือหนาเกือบเมตร … Continue reading Interview — The Cloud

Interview — Sarakadee Lite

“การออกแบบเป็นกิจกรรมของมนุษย์” สนทนาว่าด้วยการออกแบบในมุมมอง สันติ ลอรัชวีText: อชิตพนธิ์ เพียรสุขประเสริฐhttps://www.sarakadeelite.com/faces/santi-lawrachawee/ สันติ ลอรัชวี นักออกแบบที่มีผลงานทั้งทางด้านศิลปะ (Fine art) และงานออกแบบ (Design) มากมายไม่ว่าจะเป็นผู้ออกแบบ โลโก้ของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) หรืองานศิลปะเดี่ยวและกลุ่มอีกมากมายโดยล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นคือนิทรรศการเดี่ยว MemOyoU (Memorandum Of Understanding) ที่ CASE Space Revolution นอกจากงานศิลปะและการออกแบบแล้วยังมีผลงานหนังสือเช่น สันติวิธีที่ ๑ (สำนักพิมพ์คัดสรรดีมาก) หรืองานแปลอย่าง พอล แรนด์ บทสนทนากับนักเรียน (สำนักพิมพ์ลายเส้น) อีกทั้งยังทำงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนและล่าสุดยังเปิดพิ้นที่ PRACTICAL school of design ที่จะมาส่งเสริมการค้นหาการเรียนรู้ด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ ในครั้งนี้จึงได้ชวน สันติ ลอรัชวี มาสนทนาทั้งประเด็นทัศนะด้านการออกแบบและการเกิดขึ้นของ PRACTICAL school of design ว่ามีความคิดและที่มาที่ไปอย่างไรรวมถึงกลวิธีส่วนตัวที่ใช้ในการสร้างสรรค์มีกระบวนการคิดการทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจออกมาหลายรูปแบบและชวนติดตามในทุกๆผลงาน สำหรับตอนนี้คิดว่าการออกแบบมีความหมายครอบคลุมไปถึงไหนบ้าง? มันยืดหด ผมไม่ค่อยกล้าใช้คำว่าคำจำกัดความเพราะถ้าเราจำกัดมันจะอยู่กับที่ เราเลยมักติดตามความเป็นไปของมันว่ามันเป็นอะไรได้บ้าง อย่างในความหมายของตอนที่เราเด็กอยู่เราก็คิดว่ามันคือสิ่งสวยงามหรือบางทีเราโตขึ้นมาเราเรียนหน่อยเราก็คิดว่ามันมี ความคิด(Idea) … Continue reading Interview — Sarakadee Lite

พรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกไซน์

สนทนากับนักออกแบบระดับแนวหน้าของไทยผู้ก้าวข้ามพรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกไซน์ โดย ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ เครดิตจาก Wurkon ภาพถ่ายบุคคลโดย ศุภชัย เกศการุณกุล ถ้าพูดถึงชื่อ สันติ ลอรัชวี คนรักงานกราฟิกดีไซน์คงรู้จักเขาเป็นอย่างดีในฐานะนักออกแบบกราฟิกชั้นแนวหน้าของไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง แพรคทิเคิล สตูดิโอ (Practical Design Studio) สตูดิโอออกแบบชั้นนำของประเทศไทย เจ้าของผลงานออกแบบปกหนังสือของสำนักพิมพ์ openbooks มากมายหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นในชุด Wisdom Series อันประณีตงดงาม ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และปกหนังสือ มูซาชิ อันเรียบง่ายเฉียบคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานการออกแบบปกหนังสือ สิทธารถะ ของ เฮอร์มาน เฮสเซ ฉบับภาษาไทย ที่ออกแบบและผลิตอย่างประณีต พิถีพิถัน และงดงามราวกับเป็นงานศิลปะ และพิมพ์ในจำนวนจำกัดเพียงแค่ 1,000 เล่ม โดยเปิดให้เข้าไปจับจองทางออนไลน์ ก็สร้างปรากฏการณ์ด้วยการที่หนังสือถูกจองจนหมดเกลี้ยงภายในเวลาแค่ 12 ชั่วโมง นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้ออกแบบนิทรรศการศิลปะและการออกแบบอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการ Show Me Thai ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย … Continue reading พรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกไซน์

Interview — Cloud of thoughts: โดยสันติ

Writer: จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์Photographer: มณีนุช บุญเรืองเครดิตจาก The Cloud ท่ามกลางผลงานของนักออกแบบสัญชาติญี่ปุ่นในงาน Graphic Trial 2018 ที่ Printing Museum Tokyo มีผลงานของนักออกแบบไทยปรากฏอยู่ นี่เป็นครั้งแรกที่นักออกแบบกราฟิกไทยได้รับเชิญไปร่วมสร้างและแสดงงาน เจ้าของผลงานนั้นคือ สันติ ลอรัชวี ตั้งแต่วันแรกที่เข้าวงการจนถึงวันนี้และวันหน้า สันติบอกว่าเขาคือ กราฟิกดีไซเนอร์ “ผมจะพยายามเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ในประเทศไทยที่ทำจนตาย” เขาเอ่ยประโยคนี้ระหว่างที่เรานั่งคุยกันในร้านกาแฟใกล้ๆ PRACTICAL Design Studio ที่เขาเป็นผู้ก่อตั้ง ผลงานที่ผ่านมาของเขามากมายเกินกว่าจะไล่เรียงได้หมดภายในย่อหน้าเดียว ในปี 2015 เขาได้รับรางวัล Designer of the Year สาขาการออกแบบกราฟิกจากนิตยสาร Wallpaper* และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ แต่หากจะให้ยกตัวอย่าง ผลงานล่าสุดของเขาที่น่าจะคุ้นตานักอ่านคือหน้าปกหนังสือ The Wisdom Series ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ทุกเล่ม ไล่ตั้งแต่ ปัญญาอนาคต, ปัญญาอดีต และปัญญาหนึ่งถึงร้อยหมื่น เมื่อรู้ว่าเขาได้รับเชิญไปแสดงงานที่ญี่ปุ่น ผมจึงนัดพบเขาในบ่ายวันหนึ่งเพื่อคุยกันถึงสิ่งที่เขาได้ค้นพบจากดินแดนที่งานออกแบบกราฟิกก้าวหน้าและชวนตื่นตาที่สุดแห่งหนึ่งในโลก … Continue reading Interview — Cloud of thoughts: โดยสันติ

The Matter : นี่ไม่ใช่แม่น้ำ

“นี่ไม่ใช่แม่น้ำ” ว่าด้วยแนวคิดการออกแบบหนังสือสิทธารถะ กับปรากฏการ Sold out ภายใน 12 ชั่วโมง! OCTOBER 21, 2016 Interview by Kamolkarn Kosolkarn Photo by Santi Lawrachawee หลังจากการประกาศของสำนักพิมพ์ openbooks ว่าจะมีการจัดจำหน่ายหนังสือวรรณกรรมทรงคุณค่าอย่างสิทธารถะ เขียนโดยเฮอร์มาน เฮสเซ ฉบับภาษาไทย ที่พิมพ์จำกัดจำนวนเพียง 1,000 เล่ม และเปิดโอกาสให้นักอ่านเข้าไปจับจองผ่านเว็บไซต์ ได้สร้างให้เกิดปรากฏการณ์คือ หนังสือทั้งหมดถูกจับจองภายในเวลาเพียง 12 ชั่วโมง ไม่ว่าเหตุผลเบื้องหลังจะเป็นเนื้อหาที่เปลี่ยนวิธีการมองโลกให้คนอ่าน สำนวนแปลภาษาไทยโดยอาจารย์สดใส หรือการออกแบบเล่มหนังสือที่เต็มไปด้วยความหมาย ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็กำลังตั้งคำถามต่อวงการหนังสือไว้อย่างน่าสนใจ อย่างที่ในหน้าเพจ openbooks เขียนไว้ “จากสังสารวัฏหรือการเวียนว่ายตายเกิด กลายเป็นอนันตาหรือความเวิ้งว้างไร้ตัวตนของจักรวาล” จากเนื้อหาที่ถูกสื่อสารด้วยภาพอย่างเฉียบคม การออกแบบครั้งใหม่ให้กับวรรณกรรมทรงคุณค่า ทำให้ The MATTER หาโอกาสพูดคุยกับ สันติ ลอรัชวี จาก PRACTICAL Design Studio … Continue reading The Matter : นี่ไม่ใช่แม่น้ำ

a day : คำถามหลังถ้วยชาว่าด้วยชีวิต การออกแบบ และการออกแบบชีวิต

a day, interview 198 เรื่อง จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์ ภาพ นวลตา วงศ์เจริญ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ คำถามหลังถ้วยชาว่าด้วยชีวิต การออกแบบ และการออกแบบชีวิต คำถามคือ... ในบทสนทนาหลังถ้วยชา สันติ ลอรัชวี พูดคำนี้บ่อยครั้ง ซึ่งตรงกับสิ่งที่เขาเชื่อเสมอมาว่า คำถามสำคัญกว่าคำตอบ คำตอบของสันติจึงเต็มไปด้วยคำถาม คำถามที่น่าสนใจในเวลานี้ ไม่ใช่คำถามที่ว่า สันติ ลอรัชวี คือใคร เพราะชื่อของเขาไม่ใช่ชื่อใหม่ในแวดวงนักออกแบบ สันติได้รับรางวัล  Designer of the Year ปี 2015 สาขาการออกแบบกราฟิก จากนิตยสาร Wallpaper* และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์  ส่วน PRACTICAL Design Studio ที่เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ก็เป็นหนึ่งในสตูดิโอชั้นนำของประเทศ ล่าสุดเพิ่งจัดนิทรรศการ REWIND TO THE NEXT ในวาระครบรอบ 12 ปี ไปเมื่อปีที่ผ่านมา และหากจะบอกว่าเขาคือนักออกแบบกราฟิกที่มีผลงานนิทรรศการส่วนตัวมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศก็อาจไม่ผิดนัก … Continue reading a day : คำถามหลังถ้วยชาว่าด้วยชีวิต การออกแบบ และการออกแบบชีวิต

Yellow Pages, IDEA magazine

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่สำคัญในคาบสมุทรอินโดจีน เป็นที่ที่มีทั้งวัฒนธรรมจีนและอินเดียได้มาผสมผสานกัน มีผู้คนมากมายจากทั่วโลกเดินทางมายังที่นี่ ที่ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมนี้มากกว่าที่ใดในโลก อีกทั้งยังมีชาวญี่ปุ่นกว่า ๔๐,๐๐๐ คนพำนักอยู่ที่นี่อีกด้วย สิ่งที่ต่างจากเมืองใหญ่อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นคือคนไทยใช้ตัวอักษรภาษาไทยที่มีรากมาจากประเทศอินเดีย ซึ่งมีอิทธิพลทำให้ข้อดีในเชิงการออกแบบจากการใช้โครงสร้างของตัวอักษรทั้ง ๔๔ ตัว โดยมีการนำบุคลิคเฉพาะของตัวอักษรละตินมาผสมผสานทำให้เกิดรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจ สันติ ลอรัชวี เกิดในปี ๑๙๗๑ เขาเป็นนักออกแบบไทยที่มาจากครอบครัวคนจีนที่ปู่ย่าตายายได้อพยพมายังประเทศไทยในช่วงสงครามกลางเมือง เขาไม่ได้เป็นเพียงอาจารย์มหาวิทยาลัยและศิลปิน แต่ยังเป็นผู้ริเริ่มให้ความรู้และความเข้าใจอันถ่องแท้ให้กับสังคมไทยเกี่ยวกับการออกแบบกราฟิก ที่ยังมีเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ที่ไม่มากนักเรามาเรียนรู้เบื้องลึกของประเทศนี้ และวงการการออกแบบของกรุงเทพฯ ผ่านความคิดและมุมองของสันติ ลอรัชวี ที่ไม่ได้มุ่งเน้นประเด็นแค่การสร้างสรรค์แต่เพียงอย่างเดียว การทำงานและชีวิตประจำวัน ชื่อของผมคือ ‘สันติ’ ซึ่งหมายถึง ความสงบสุขในภาษาบาลี ผมมาจากครอบครัวคนจีนที่นามสกุลเดิมคือ แซ่หล่อ ดังนั้นรุ่นปู่ย่าตายายของผมจึงเลือกนามสกุล ลอรัชวี ให้เป็นนามสกุลไทย เพราะด้วยสถานะทางสังคมคนไทยในช่วงเวลานั้นที่มองว่าคนจีนที่มาตั้งรกรากในประเทศไทยเป็นชนชั้นที่ต่ำกว่า พ่อแม่ของผมเลือกที่จะไม่ให้ผมเรียนในโรงเรียนจีนเหมือนกับญาติคนอื่นๆ (ซึ่งจะสอนภาษาจีนด้วย) แต่กลับส่งผมเข้าเรียนในโรงเรียนคาทอลิกแทน เพื่อที่ผมจะได้เรียนภาษาอังกฤษและวิธีการคิดแบบสมัยใหม่ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมพูดภาษาจีนไม่ได้ แต่ในปัจจุบันนี้ครอบครัวคนจีนและคนไทยอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง แต่จริงๆ แล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้คนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกันมาแต่ดั้งเดิม ดั้งนั้นจึงเป็นเรื่องยากอยู่แล้วที่จะบอกว่าใครเป็นคนไทยแท้ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีจราจรติดขัดและหนาแน่นมาก ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ผมจึงเริ่มงานราว ๑๑ โมงของทุกวัน แต่จริงๆ … Continue reading Yellow Pages, IDEA magazine

A View with a day

A View with a day เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ในนิตยสาร a day ฉบับเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ เรื่องโดย จิราภรณ์ วิหวา และจากคอลัมน์ a day with a view ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑๑๐ เดือนตุลาคม ๒๕๕๒ เรื่องโดย จิราภรณ์ วิหวา และ ศิวะภาค เจียรวนาลี ตอนที่ ๑ : กรกฎาคม ๒๕๕๑ ในยุคที่ทุกความจริงหนึ่งถูกอีกความจริงหนึ่งแทนที่ตลอดเวลา นักออกแบบคนหนึ่งจึงสะท้อนความจริง (ที่ยังจริงอยู่) นี้ออกมา ด้วยนิทรรศการศิลปะที่ใช้วัตถุดิบเป็นหนังสือพิมพ์จำนวน ๓ ตัน! ไม่ อาจ จะ ใช่ คือชื่อนิทรรศการศิลปะของ สันติ ลอรัชวี ที่สามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ ๒ แบบ ไม่, อาจจะใช่ … Continue reading A View with a day