แถลงการณ์ First Things First ฉบับ 2020

โดย สันติ ลอรัชวี
(เอกสารประกอบเวิร์คช็อป Visual Literacy
จัดโดย PRACTICAL Design Studio, 7 ต.ค. 2560)
การอ่านภาพ (Visual Literacy) อธิบายได้ว่าคือความสามารถในการเข้าใจและใช้ภาพ
รวมทั้งความสามารถในการคิด ในการเรียน และแสดงออกของตัวเองต่อภาพที่มองเห็น
ไม่มีใครปฏิเสธว่า “ภาพ” เป็นสิ่งหนึ่งช่วยให้การสื่อสารสมบูรณ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาจสรุปได้ว่าการอ่านภาพคือความสามารถทางด้านการมองเห็นของมนุษย์
และใช้ความสามารถนั้นในการจำแนกและแปลความหมาย
สิ่งที่มองเห็นเพื่อการติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และมีสุนทรียภาพ
คำว่า Visual Literacy สามารถแยกแปลความหมายของคำนี้ได้คือ
“Visual” หมายถึงสิ่งที่เกี่ยวกับจักษุประสาทหรือสิ่งที่ตามองเห็น
ซึ่งอาจเรียกรวมว่า “ภาพ” ก็ได้
“Literacy” หมายถึงความสามารถในการอ่านเขียนหรือการเรียนรู้
“การอ่านออกเขียนภาพ” จึงเป็นรูปแบบของการคิดที่สำคัญ
ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางการสื่อสารเชิงภาพให้กับนักออกแบบ
การสื่อและรับสารทางสายตานั้นมีความผูกพันกับมนุษย์ก่อนจะมีภาษาพูดและเขียนด้วยซํ้า
ภาพเขียนในผนังถํ้า การสังเกตสีของผลไม้ พัฒนามาเป็นสัญลักษณ์สากลมากมายที่เราใช้กันในปัจจุบัน หากแต่มนุษย์เริ่มคิดผ่านอิทธิพลของ ภาษาหลังจากที่อารยธรรมด้านภาษาของเราวิวัฒน์มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นภาษา (Linguistics) จึงเป็นระบบการสื่อสารที่มี อิทธิพลต่อมนุษย์ เราทั้งใช้มันในการคิด การรับรู้ และการแสดงออก ผ่านเงื่อนไขการเรียนรู้และการใช้งานในชีวิตประจำวัน จึงอาจกล่าวได้ว่าการสื่อสารเชิงภาพจึงผูกติดอยู่กับการรับรู้ทางภาษาอย่างเหนียวแน่น Continue reading “อ่านออก เขียนภาพ”
ใครคนหนึ่งอาจอรรถาธิบายถึงน้ำ แต่ปากหาได้เปียก
ใครอีกคนหนึ่งอาจอธิบายอย่างเต็มที่กับลักษณะของไฟ แต่ปากก็หาได้ร้อนไม่
หากปราศจากการสัมผัสน้ำไฟจริง เราย่อมไม่อาจรู้ถึงมัน แม้จะอธิบายออกมาเป็นหนังสือทั้งเล่มก็ไม่ทำให้เข้าใจ เปรียบดั่งอาหารที่ถูกจำกัดความจนเห็นภาพออกรส แต่ก็ไม่บรรเทาความหิวของคนๆ หนึ่งได้
เราไม่อาจบรรลุความเข้าใจในสิ่งหนึ่งเพียงจากการอธิบายถึงมัน
ทาคุอัน โซโฮ, ปลดจิตปล่อยใจ (The unfettered mind), หน้า 16
One may explain water, but the mouth will not become wet. One may expound fully on the nature of fire, but the mouth will not become hot.
Without touching real water and real fire, one will not know these things. Even explaining a book will not make it understood. Food may be concisely definded, but that alone will not relieve one’s hunger.
One is not likely to achieve understanding from the explanation of another.
Takuan Soho, The unfettered mind, p.16
…
M.O.U. = Memorandum of understanding
รวบรวมความคิด บทสนทนา ภาพ หรือ เสียง ที่เป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิต
สันติ ลอรัชวี
เรียบเรียงบางส่วนจาก Vignelli Canon – Vignelli Associates
ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นแนวทางในการเชื่อมโยงที่ดีของการออกแบบกับแนวคิดบางส่วนของสัญศาสตร์
Massimo Vignelli ได้กล่าวถึง Semantic, Syntactic และ Pragmatic ไว้อย่างเข้าใจได้ไม่ยากในหนังสือ Vignelli Canon
เตี่ยผมเป็นคนจีนแต้จิ๋ว ความที่ต้องอพยพหลบหนีสงครามกลางเมืองและความอดอยากมาสยาม
พร้อมกับเตี่ยของแก(อากงของผม) ตั้งแต่เด็ก ทำให้เตี่ยไม่มีโอกาสได้เล่าเรียนหนังสือมากนัก
หนังสือจีนพออ่านออกเขียนได้ ส่วนหนังสือไทยนั้น เทียบชั้นแล้วก็คงประมาณประถมสี่
แม้เตี่ยจะเขียนจดหมายสั่งของจากกรุงเทพฯได้ เขียนใบส่งของคล่อง รวมทั้งบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย
ในร้านขายของเล็กๆ ของแกได้อย่างถี่ถ้วน แต่ลึกๆ แล้ว ผมเชื่อว่า แกไม่เคยพอใจในลายมือของแกเลย
ลายมือภาษาไทยของเตี่ยตัวหวัดใหญ่ ครูที่โรงเรียนผมเรียกว่าตัวเท่าหม้อแกง
นอกจากจะมีอารมณ์ประชดประชันผสมอารมณ์ขันแล้ว ผมคิดว่ายังมีอารมณ์หยันปะปนอยู่เล็กน้อย
เตี่ยเองก็คงพอรู้จักลายมือของตัวเองดีว่ามีข้ออ่อนอย่างไร เวลาจะไปงานศพหรืองานแต่งใครต่อใครในตลาด
เตี่ยจึงเรียกใช้บริการผมให้ช่วยไปหยิบซองจดหมายในตู้หน้าบ้านมาเขียนชื่อแกตัวใหญ่ๆ
พร้อมนามสกุลยาวๆ ที่ด้านหน้าทุกครั้งไป แม้ผมจะเขียนด้วยความตั้งใจเพื่อให้ชื่อและนามสกุลของเตี่ยงามสง่า
แต่ก็ใช่จะว่าจะสร้างความพอใจให้กับเตี่ยได้ทุกครั้ง บางครั้งที่แกเห็นว่าเขียนสวย แกก็จะเอาเงินใส่ซอง
พับซองใส่กระเป๋า แล้วออกจากบ้านไปโดยไม่บ่นไม่ชมอะไร แต่บางครั้งด้วยลายมือเดียวกัน
แกกลับเห็นว่าไม่สวย เขียนเป็นเล่นไป แกก็จะให้เขียนใหม่จนกว่าแกจะพอใจ สามซองบ้าง สี่ซองบ้าง ก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้ายังไม่ถูกใจอีก แกก็จะเริ่มหงุดหงิดและแก้ปัญหาด้วยการลงมือเขียนด้วยลายมือหวัดๆ
เท่าหม้อแกงของแกเอง Continue reading “บทความจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am Not โดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา”
เรียบเรียงและแปลโดย เจิมศิริ เหลืองศุภภรณ์ และ ภูมิ รัตตวิศิษฐ์
Edited and Translated by Jermsiri Luangsupporn and Poom Rattavisit
16 May 2008
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑
การส่งต่อของข้อมูลเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคย และสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป โดยปรกติแล้ว ข้อมูลมักจะถูกแทนความหมายว่าเป็นสิ่งมีค่า ซึ่งมันจะไม่มีค่าเลยถ้าปราศจากผู้รับ
เพราะข้อมูลที่ไม่เกิดการส่งต่อ ก็จะทำให้ค่าของมันเป็นเพียงความลับ (ซึ่งในบางทีกลับถูกมองว่าเป็นข้อมูลที่มีค่ามากพิเศษ) หรือเป็นเพียงการบันทึกของผู้สร้างข้อมูล Continue reading “บทความจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am Not โดย อนุทิน วงศ์สรรคกร”
ศิลปะ…ไม่ใช่บัญญัติไตรยางค์
สิงหาคม 17, 2008 by janghuman Continue reading “ข้อเขียนที่เขียนถึงข้อเขียน”
ได้อ่านบทความที่เขียนถึงนักออกแบบคนโปรด ‘โจนาธาน บาร์นบรูค’ (Jonathan Barnbrook) จากเว็บประชาไท (www.prachatai.com)
โดย : ตติกานต์ เดชชพงศ เผยแพร่วันที่ 13 ม.ค. 2550 ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อให้ผู้อ่านบล็อค Grafiction ครับ
ถ้าจะอ่านจากเว็บประชาไทได้ด้วยการลิงค์ที่หัวเรื่องได้เลยครับ หรือทำความรู้จักกับ Branbrook เพิ่มเติมที่ http://www.barnbrook.net/
‘โจนาธาน บาร์นบรูค’ (www.pingmag.jp) Continue reading “ดีไซน์ด้วยจิตสำนึก – ดีไซน์เพื่อสังคม”
การดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป คือ ชีวิตที่มากกว่าการดำรงชีวิต เป็นยิ่งกว่าการใช้ชีวิต
และสิ่งที่กล่าวมานี้ก็มิใช่วาทกรรมแห่งความตาย แต่ในทางตรงกันข้าม
กลับเป็นการยืนยันต่อชีวิตของทุกคนที่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ และอยู่ให้รอดพ้นจากความตาย
เพราะว่าการมีชีวิตอยู่ต่อไปมิใช่ความง่ายดายอย่างที่เป็นอยู่ แต่เป็นการดำเนินชีวิตที่จริงจัง
ข้าพเจ้าไม่เคยถูกหลอกหลอนด้วยความตายอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
มากไปกว่าช่างเวลาที่มีความสุขและความรื่นรมย์
สำหรับข้าพเจ้าแล้ว การมีความสุขและความเศร้าโศกต่อความตายที่รอคอยอยู่นั้น
ถือว่าเป็นสิ่งเดียวกันเวลที่ข้าพเจ้าหวนระลึกถึงชีวิตตนเอง
ข้าพเจ้าชอบคิดว่าตนโชคดีที่ได้รักและชื่นชอบ [ชีวิตของตนเองที่ผ่านมา]
หรือแม้กระทั่งช่วงเวลาที่ปราศจากความสุขในชีวิต แต่ก็ยังชื่นชมต่อสิ่งเหล่านี้อยู่ดี
กระนั้นก็มีสิ่งที่ยกเว้นเพียงอย่างหนึ่ง เมื่อนึกถึงช่วงเวลาแห่งความสุข
แน่นอนว่า ข้าพเข้าปลื้มใจต่อตนเองเช่นกัน
แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ลืมที่จะนึกถึงความตาย หนทางไปสู่ความตาย
เพราะว่าทุกอย่างย่อมต้องผ่านไป โดยไปสู่จุดจบ…
Appelsinpiken (The Orange Girl) หรือ ส้มสื่อรัก
Jostein Gaarder เขียน; จิระนันท์ พิตรปรีชา แปล; สำนักพิมพ์มติชน
“…นั่งสบายๆ หรือยัง คุณผู้อ่าน? แล้าเราจะเริ่มคุยกัน” Continue reading “คำถามฟุ้งตลบอบอวล จาก “The Orange Girl””
1. การเรียนรู้การใช้โลหะ คือ การนำโลหะมาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ โดยโลหะชนิดแรกที่นำมาใช้หล่อคือ ทองแดง ต่อมาก็มีการเอาทองแดงผสมกับดีบุกจนกลายเป็นทองบรอนซ์ (หรือโลหะสำริด) และต่อจากนั้นพวกฮิทไทท์ก็เริ่มรู้จักการหลอมเหล็ก จึงสรุปได้ว่าลำดับวิวัฒนาการการใช้เครื่องมือของมนุษย์นั้น เริ่มจากการใช้หิน มาเป็นโลหะคือ ทองแดง ทองบรอนซ์ และเหล็ก ตามลำดับ
2. การชลประทาน การปกครอง และเมือง คือ การอยู่รวมกันมีหัวหน้าปกครอง การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต้องอาศัยระบบการชลประทาน การก่อสร้าง และระบบการเตรียมงานในลักษณะดังกล่าวนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของความร่วมมือกันและขณะที่ทำงานร่วมกันมนุษย์ก็เริ่มจะเรียนรู้เรื่องการปกครอง เนื่องจากความพยายามในการวางแผนงาน การชี้นำ และกำหนดกฎเกณฑ์การทำงาน
3. การแบ่งงานกันทำ โดยแบ่งตามความสามารถและความถนัดของแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ก็เริ่มมีพ่อค้าเกิดขึ้น โดยพ่อค้าในระยะแรก ๆ แห่งสมัยของการพัฒนาเมืองมีหน้าที่ค้าขาย แลกเปลี่ยนทางด้านความคิด นำระบบการผลิตและการค้าไปเผยแพร่
4. การสร้างปฏิทิน เพื่อจะได้ทราบระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และการกำหนดระยะเวลาในแต่ละปี
*****
5. การประดิษฐ์ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมาย โดยมีพัฒนาการมาตามลำดับ ดังนี้
1) การวาดภาพเพื่อแสดงลักษณะสิ่งของ เรียกว่า “อักษรภาพ” (Pictograms)
2) รูปภาพเพื่อแสดงความคิด เรียกว่า “อักษรแสดงความหมาย” (Ideograms)
3) รูปภาพแทนเสียงซึ่งปกติจะใช้เป็นพยางค์ เรียกว่า “อักษรแทนเสียง” (Phonograms)
4) สัญลักษณ์แทนพยัญชนะหรือสระ
การประดิษฐ์ตัวอักษรเหล่านี้เองคือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการสิ้นสุดของยุคก่อนประวัติศาสตร์และเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์
(อักษรภาพของอียิปต์และครีตัน ซึ่งหมายถึง “ชีวิต” นั้น ในปัจจุบันหมายถึง “สตรี” ซึ่งมีสัญลักษณ์คือ E)
Continue reading “อัตลักษณ์ของแบรนด์และองค์กรในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง”
โดย ทิบอร์ คาลมาน
จักรพันธ์ วิลาสินีกุล : ผู้แปล
Tibor Kalman. “Photography, Morality, and Benetton.”
: Looking Closer 2 Critical Writings on Graphic Design,
Allworth Press, 1997, P.230-232.
ตีพิมพ์ใน บทวิเคราะห์และสรรนิพนธ์ สาขาทัศนศิลป์
จากการวิจัยเรื่อง การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย Continue reading “การถ่ายภาพ จริยธรรม และเบเนตอง”
หนังสือเล่มเล็กๆ ที่ผมประทับใจในช่วงหลายปีมานี้ มีชื่อแปลเป็นไทยว่า “สวัสดีชาวโลก” หรือ “Hello! Is anybody there?”
ผลงานของโยสไตน์ กอร์เดอร์ แปลโดย วิลาวัณย์ ฤดีศานต์ หลายๆ คนคงรู้จักกอร์เดอร์จากหนังสือเรื่อง “โลกของโซฟี” แล้วนะครับ Continue reading “Hello! Is anybody there?”