สันติวิธี ที่ ๑

หนังสือรวมบทความ โดย สันติ ลอรัชวี
จัดพิมพ์ โดย คัดสรรดีมาก
บรรณาธิการและออกแบบปก – อนุทิน วงศ์สรรคกร
กองบรรณาธิการ – กรดา ศรีทองเกิด
รูปเล่มและศิลปกรรม – ธนโชติ ทรัพย์เรืองนาม
ภาพหนังสือโดย คัดสรรดีมาก

คำนำผู้เขียน
Give me your story, I’ll give you mine.

ครั้งหนึ่งคุณพิชญา ศุภวานิช ชักชวนให้ผมร่วมแสดงผลงานศิลปะในนิทรรศการที่เธอเป็นภัณฑรักษ์ นิทรรศการนั้นมีชื่อว่า สถานพักตากอากาศ (Resort) ซึ่งเป็นนิทรรศการศิลปะที่พยายามจะขยายความหมายของการพัก ท่ามกลางบรรยากาศรอบตัวเราที่เดินหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทำความเข้าใจในที่พักอาศัยที่ไม่ใช่แค่ก้อนสถาปัตยกรรม แต่เป็นสถานที่ที่ถูกค้นพบคุณค่าอันแท้จริงของการใช้ชีวิตอยู่ เธอถามถึงรีสอร์ตแบบของผม ซึ่งท้ายที่สุดคำตอบของผมก็ปรากฏอยู่ในสูจิบัตรนิทรรศการว่า “รีสอร์ตสำหรับผมในบางครั้ง ไม่ได้สัมพันธ์กับสถานที่ หลักแหล่ง หรือเวลา หากแต่เชื่อมโยงกับการที่เราได้ถ่ายเทอะไรบางสิ่งในความคิด ความรู้สึกของเราไปกักเก็บไว้ยังอีกพื้นที่หนึ่ง มันมีความย้อนแย้งในการตัดสินใจว่า… เราอยากจะจดจำสิ่งเหล่านั้น หรือจริงๆ แล้วเราอยากจะลืมมัน มันคงมีอะไรที่คล้ายคลึงกับการจดบันทึกประจำวัน หากแต่คำว่า ‘บันทึก’ ก็คงไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนได้ตรงนัก ผมจำลองบรรยากาศส่วนตัวนี้ผ่านเล่มหนังสือที่มีความหนาราว ๙๐ ซม. เจาะรูตรงกลางเล่มทะลุตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย ติดตั้งฝังเข้าไปที่ผนังในระดับปากที่ผู้ชมสามารถบอกเล่าอะไรบางอย่างกับมัน และหวังว่ามันคงจะหนาและลึกพอที่จะแบ่งปันพื้นที่ว่างสำหรับผู้ชมที่อยากจะฝากบางสิ่งไว้” ผลงานชิ้นนี้ติดตั้งพร้อมกับบทสนทนาบางส่วนจากภาพยนตร์เรื่อง In the mood for love ของ หว่อง คาร์ ไว ที่โจวมู่หวันคุยกับอาปิงว่า “ในอดีต..หากมีความลับที่ไม่ต้องการบอกใคร ใครบางคนมักจะไปที่ภูเขาเพื่อหาต้นไม้สักต้นที่มีรู แล้วกระซิบความลับเหล่านั้นเข้าไป จากนั้นก็ปิดรูนั้นด้วยดินโคลนเพื่อปล่อยให้ความลับคงอยู่ไปชั่วนิรันดร์”

หนังสือที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้เป็นการรวบรวมบันทึกความคิดส่วนตัวจากช่วงเวลาสิบกว่าปี (แน่นอนที่สุดว่ามันไม่ได้เป็นความลับ) หลายเรื่องบางมุมมองก็เปลี่ยนแปลงไปแล้ว สันติบางคนก็ดูเป็นสันติอีกคนที่ไม่คุ้นเคย สันติบางคนก็ดูน่าขัน ส่วนบางคนก็ทำให้นึกทึ่งในเรี่ยวแรง และบางทีก็นึกถึงและอยากพบเจอสันติคนเดิมๆ อีกครั้งเพื่อนั่งสนทนากัน ส่วนสันติคนปัจจุบันนี้อยากขอบคุณสันติทุกคนที่ทำให้บันทึกนี้มีความหนาพอรวมเข้าเป็นเล่ม ส่วนตัวแล้วหนังสือเล่มนี้บรรจุความทรงจำของผมมากมายที่อยู่นอกอาณาเขตของตัวหนังสือ ยังมีเรื่องราว เหตุการณ์ ความทรงจำ และบุคคลที่แวดล้อมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งนั่นทำให้ผมรู้สึกเกรงใจผู้อ่าน และได้แต่หวังว่าบางส่วนจากข้อเขียนเหล่านี้จะพอทำให้เกิดสิ่งเล็กเล็กน้อยน้อยที่จะมีประโยชน์กับผู้อ่านได้บ้าง “สันติ’s วิธีที่ 1” ย่อมไม่ใช่สันติวิธี (peaceful means) หากเป็นแค่วิธีของหลายๆ สันติที่ถูกบันทึกผ่านสถานพักตากอากาศเล่มนี้ และในฐานะตัวแทนของสันติทุกคนใคร่ขอกล่าวขอบคุณและขออภัย รวมถึงขอรับความผิดพลาดทั้งหลายมา ณ โอกาสนี้

ผมคิดว่าสิ่งที่โจวมู่หวันพูดถึงในภาพยนตร์มีบางอย่างคล้ายคลึงกับการเขียนบันทึกสิ่งต่างๆ ในสมุดบันทึก แม้มันจะไม่ใช่ความลับไปซะทุกเรื่องก็ตาม หากในแต่ละครั้งที่เราได้ผ่านหรือรับรู้เหตุการณ์มากมาย สิ่งที่เราคิดและรู้สึกมักทำให้เราเปลี่ยนแปลงไปเสมอ ผมไม่อาจเรียกได้ว่ามันทำให้เราเติบโตขึ้น หรือเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น หากจะเรียกสิ่งที่บันทึกอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ก็คงกล่าวได้เพียงว่า ‘นี่คือบันทึกความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่างตัวผมกับสิ่งต่างๆ ทั้งหลายที่แวดล้อมตัวผมเท่านั้นเอง’

คำนิยม โดย ผศ. ปิยลักษณ์ เบญจดล

ยินดีมากที่สันติเอ่ยปากว่าอยากให้เขียนคำนิยมให้กับหนังสือเล่มแรกของเขา เนื่องด้วยเพราะชื่นชมผลงานส่วนตัวของเขาและแพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอมานาน ตั้งใจไว้ว่าถ้ามีโอกาสเขียนงานในรูปแบบของ design critics ก็อยากจะนำผลงานหลายชิ้นของสันติและบริษัทมาเขียนถึง แม้ทุกวันนี้โอกาสเช่นนั้นจะยังไม่เกิดขึ้น แต่การเขียนคำนิยมนี้ก็ทำให้ได้ระลึกถึงผลงานที่น่าสนใจของสันติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและได้ทราบความเป็นไปของชีวิตส่วนตัว แม้ว่าสันติจะเอ่ยชวนให้เขียนในฐานะอาจารย์ แต่ก็กล่าวได้เต็มปากว่าทุกวันนี้สันติเป็น “เพื่อน” คนหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนที่มีโอกาสได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่เสมอ

ยังจำพุดดิ้งทำจากน้ำเต้าหู้ที่มีรสชาติหวานไม่มากและเนื้อสัมผัสอ่อนละมุนจากฝีมือของเขาได้ดี รับรู้ได้ว่าเขาตั้งใจทำให้เป็นพิเศษเพราะการเปลี่ยนวัตถุดิบจากนมวัวเป็นน้ำเต้าหู้ทำให้ต้องทดลองปรับเปลี่ยนสูตรและวิธีการทำหลายครั้งกว่าจะลงตัว สำหรับสันติเอง เขาพบว่ากิจกรรมที่ได้ผ่อนคลายจากงานประจำนี้มีกระบวนการที่คล้ายคลึงกับงานออกแบบอยู่ไม่น้อย ที่สำคัญคือเขาตั้งใจที่จะปรับมันจนกระทั่งมั่นใจว่าเหมาะสมกับผู้เสพงานของเขาแล้วเท่านั้นจึงจะเปิดโอกาสให้ได้ลิ้มชิมรสของมัน มั่นใจว่ากระบวนการเช่นนี้เกิดขึ้นกับงานออกแบบที่ผ่านสมองสองมือและจิตใจของเขาทุกชิ้นเช่นกัน

สันติละเอียดอ่อนกับการใช้ผัสสะทุกด้านในชีวิตประจำวันของเขาซึ่งการทำงานและไลฟ์สไตล์กลมกลืนกันอย่างแยกไม่ออก กล่าวได้ว่า สันติเป็นนักอ่าน (ตา) สันติเป็นนักดนตรีและนักฟังดนตรี (หู) สันติชื่นชอบน้ำหอม (จมูก) สันติชื่นชมรสชาติและกระบวนการสร้าง-เสพกาแฟ (จมูก ลิ้น) สันติเป็นนักเขียน (กาย ใจ) สันติเป็นนักออกแบบ (กาย ใจ) ฯลฯ แน่นอนว่ากิจกรรมต่างๆ ในชีวิตของเขาไม่ได้

แยกการใช้ผัสสะออกเป็นส่วนๆ เช่นนี้ แต่โดยรวมแล้วใช้สมองควบคู่ไปกับจิตใจที่นำทางการใช้ชีวิตของเขาเสมอ และหากต้องนิยาม

เขาด้วยคำๆ หนึ่ง คำว่า “นักสื่อสาร” (ผ่านสารพัดสื่อที่เขาถนัด) อาจเหมาะสมสำหรับสันติก็ได้

ในฐานะอาจารย์ สันติมักเน้นย้ำกับนักศึกษาบ่อยครั้งว่าการตั้งคำถามสำคัญกว่าคำตอบ ชีวิตของเขาก็เช่นกัน ผลงานหลายชิ้นกระตุ้นให้ผู้ชมตั้งคำถามกับสิ่งที่เขาส่งผ่านสื่อหลากหลายชนิดที่ถูกเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดี บทสนทนาระหว่างเขากับคนรอบข้างทั้งลูกค้า เพื่อนร่วมงาน นักศึกษา และเพื่อนฝูงจึงมักชวนให้นำมาขบคิดต่อเสมอๆ เชื่อว่าหลายคนตั้งใจหาโอกาสเพื่อนั่งคุยกับเขาในช่วงพักจากการทำงานโดยมีถ้วยกาแฟหรือแก้วเบียร์ช่วยเพิ่มอรรถรสของวงสนทนา ลีลาและทักษะการแสดงความคิดเห็นของสันติเฉียบคมเสมอซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเขาออกกำลังสมองด้วยการ go inside พื้นที่ในความคิดของตนเองตลอดเวลา ลิ้นชักข้อมูลของเขาจึงยังไม่เต็มและพร้อมที่จะถูกสลับสับเปลี่ยนเมื่อถึงเวลา

ในแต่ละช่วงจังหวะชีวิต ขอชื่นชมสันติในความกล้าหาญที่ตัดสินใจทำตามสัญชาตญาณของตนเองหลายครั้ง เขาหยุดรับงานจากลูกค้าถึงหกเดือนเพื่อทำงานออกแบบสำหรับแสดงนิทรรศการเดี่ยวของตัวเองเป็นครั้งแรก เขาเปิดกว้างกับทัศนคติในการทำงานเพื่อพาณิชย์

ควบคู่ไปกับการทำงานที่มีคุณค่าให้กับสังคม ซึ่งได้รับผลตอบแทนเป็นความภาคภูมิใจในวิชาชีพนักออกแบบแทนมูลค่าตัวเงินมากมาย เขาปฏิเสธงานบางชิ้นที่สามัญสำนึกของตัวเองบอกว่า “ไม่ใช่” แม้ว่าจะเป็นงานที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้บริษัท อุดมการณ์ที่มุ่งมั่นเช่นนี้ย่อมส่งผลไม่มากก็น้อยให้สังคมยอมรับ เห็นศักยภาพ และให้คุณค่ากับวิชาชีพนี้มากขึ้นแม้จะค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม

แพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ ณ วันนี้ น่าจะดำเนินไปตามร่างความคิดและความตั้งใจของเขาร่วมกับเบล กนกนุชตั้งแต่เมื่อเริ่มก่อตั้ง แพรคทิเคิลเป็นตัวอย่างของสตูดิโอออกแบบที่มีปรัชญาในการดำเนินงานที่แตกต่าง นอกจากนิยามในการออกแบบที่ว่า “design is relation” ซึ่งเน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นในกระบวนการออกแบบแล้ว แพรคทิเคิลยังเน้นการ

สนับสนุนซึ่งกันและกันให้สมาชิกทุกคนได้สร้างสรรค์งานทั้งงานส่วนรวมและงานส่วนตัวของแต่ละคน ความเชื่อที่ว่าแต่ละคนมีความ

แตกต่างและมีศักยภาพในการเติบโตโดยสามารถพัฒนาความเป็นปัจเจกควบคู่ไปกับความก้าวหน้าของบริษัทได้ทำให้แพรคทิเคิลได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงเช่นในปัจจุบัน ไม่ว่าคำจำกัดความและบทบาทหน้าที่ของ “นักออกแบบกราฟิก” จะเปลี่ยนแปลงไปเพียงใดในอนาคต เหล่าสมาชิกแพรคทิเคิลก็จะสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับศักยภาพของพวกเขาได้ 

 การได้รับรางวัลนักออกแบบแห่งปี Designer of the Year 2015 สาขา Graphic Design ในปีนี้ เชื่อว่าสันติมีความภาคภูมิใจไม่น้อยไปกว่าการมีโอกาสได้สนทนาใกล้ชิดกับบุคคลที่เขาชื่นชมยกย่องอย่างพี่แก่ สาธิต กาลวันตวานิช ตามที่เขาอ้างถึงในหนังสือเล่มนี้ไว้ว่า “ผมได้รางวัลสำคัญของชีวิตนักออกแบบไปแล้ว” แต่เชื่อเถอะ เขาไม่หยุดอยู่เพียงแค่นี้แน่นอน เขามี passion มากมายและพร้อมที่จะเผชิญข้อจำกัดหรือโจทย์ใดๆ ก็ตามที่จะผ่านเข้ามาให้ได้ขบคิดด้วยการปรุงใหม่ คิดตรงเส้นกรอบ และนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ที่สำคัญ แอบหวังว่าเขาจะไม่หยุดสอนเพราะเขาใช้วิธีสอนให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านสิ่งต่างๆ รอบตัวทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เชื่อว่าทุกวันนี้ สันติเองก็ยังเรียนในฐานะนักออกแบบอยู่ทุกวัน

สันติเปิดเผยให้เราได้รู้ว่าในตอนเด็กเขาเกือบจะได้ชื่อว่า “สามารถ” ดังนั้นจึงหวังว่าเมื่อผู้อ่านได้ติดตามผลงานออกแบบถ้อยคำของเขา

ในหนังสือเล่มนี้แล้ว เราคงยอมรับตรงกันว่า “สันติ” กับ “สามารถ” เป็นคนคนเดียวกันแน่นอน ^_^

บทส่งท้าย โดย กนกนุช ศิลปวิศวกุล

หากเราเห็นภาชนะใสปิดฝาสุญญากาศได้รับการติดตั้งอย่างประณีตบรรจง บนพื้นที่แสดงงานที่ได้รับการจัดแสงอย่างพอเหมาะและสวยงาม ซึ่งแสงนั้นสาดส่องตรงเข้าไปในภาชนะใสปิดฝาที่บรรจุห้วงอากาศปริมาตรหนึ่ง

สิ่งที่เห็น…อาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น

สิ่งที่เป็น…อาจไม่ใช่สิ่งที่ใช่

สิ่งที่ใช่…อาจไม่ใช่สิ่งที่คิด

สิ่งที่คิด…อาจไม่ใช่สิ่งที่เห็น

ความย้อนแย้ง วนเวียน และหมุนเป็นวงจรชวนให้คิด สงสัย ตั้งคำถาม และชวนต่อยอดเหล่านี้เป็นเสน่ห์ในงานของอาจารย์ติ๊ก ผลงานแต่ละชิ้นมักจะมีมุมมองให้คิดและทำความเข้าใจ การมีพื้นที่ว่าง(อากาศ)ในผลงานของอาจารย์ติ๊ก มักทำให้คนได้ตกตะกอน ร่อนความคิด ประสบการณ์ และความทรงจำต่อสิ่งที่ผ่านมาในชีวิตของแต่ละคนผ่านชิ้นงาน 

เมื่อบริบทเปลี่ยน ความหมายก็อาจเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ที่นำภาชนะใสที่ถูกบรรจุและปิดฝาสุญญากาศเหล่านี้ไปวาง และขึ้นอยู่กับการตีความของผู้ที่พบเห็น ภาชนะเหล่านี้เมื่อถูกนำไปติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ ก็จะส่งผลต่อการรับรู้ที่ต่างออกไป ในวิถีการเรียนรู้และการทำงานร่วมกับอาจารย์ติ๊กก็เช่นกัน การที่ได้มีประสบการณ์ตรงร่วมกับอาจารย์ ไม่ว่าในฐานะอาจารย์ เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน หุ้นส่วน พ่อ พี่ชาย หรือเพื่อน ตลอด ๑๕ ปีที่อาจารย์ติ๊กถือเป็นทั้งต้นแบบ(การทำให้เหมือน) เป็นทั้งคำถามปลายปิดและปลายเปิด(การทำให้ต่าง) และเปิดโอกาสให้ตนเองสามารถแลกเปลี่ยนความคิดและมุมมองที่มีต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อยู่ตลอดเวลา ภาชนะเหล่านี้ไม่ได้ถูกติดตั้งให้อยู่สูงเกินกว่าที่ตาจะมองไปไม่ถึง ภาชนะบางชิ้นได้รับการติดตั้งให้อยู่ในระดับที่มือสามารถเอื้อมไปจับได้ บางชิ้นได้รับการติดตั้งอย่างใว้ใจและมั่นใจพอที่จะให้ผู้ชมสามารถเปิด-ปิดได้ บางชิ้นก็เปิดฝาทิ้งไว้ บางชิ้นแง้มฝาค้างเอาไว้ และบางชิ้นก็ปิดตาย

ภาชนะที่ใสอาจเป็นการเชื้อเชิญให้เรามองเข้าไปหาสิ่งที่อยู่ภายในและทำให้เราเห็นสิ่งที่อยู่ภายใน แต่นั่นก็หมายความว่าสิ่งที่อยู่ภายในอาจมองเห็นสิ่งที่อยู่ภายนอกด้วยเช่นกัน การที่เราเห็นแต่ไม่แน่ใจหรือไม่เห็นสิ่งที่บรรจุอยู่ข้างในภาชนะเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรอยู่ในนั้น สิ่งที่มีอยู่อาจเป็นนามธรรม อาจคือมวลของห้วงความคิด ชุดข้อมูล ชุดคำ หรือแม้กระทั่งอาจเป็นแค่อากาศหรือลมหายใจก็เป็นได้ การมีอยู่ในลักษณะความเป็นนามธรรมนี้จึงยิ่งทำให้มีความสนใจ พยายามทำความเข้าใจ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ตั้งคำถาม พยายามหาคำตอบ และลองพิสูจน์ว่าสิ่งที่คิดตรงกับสิ่งที่เห็น ตรงกับสิ่งที่เป็น และเป็นสิ่งที่ใช่…หรือไม่

ข้อความบนปกหลัง โดย ณัฐพล โรจนรัตนางกูร

ถ้าเราสามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ในความทรงจำได้เป็นกล่อง แยกหมวดหมู่ประเภทอย่างชัดเจน
และหยิบมาใช้ได้ตามต้องการ มันคงจะดีไม่น้อย
ผมเป็นคนหนึ่งที่พยายามทำสิ่งเหล่านั้นกับช่วงเวลาที่ได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์ติ๊ก
การได้พูดคุยกับอาจารย์ ทำให้ผมรู้สึกเหมือนได้อ่านหนังสือที่ไม่มีวันจบ
บทสนทนามักจะชวนให้ผมตั้งคำถามและโต้ตอบอยู่เสมอ
แม้กระทั่งชีวิตประจำวันที่เรามองเป็นเรื่องธรรมดา
(ผมยังไม่ลืมการชวนคิดของอาจารย์ในร้านอาหารญี่ปุ่นที่ได้ร่วมโต๊ะกันครั้งแรก)
หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนตัวแทนของกล่องเก็บประสบการณ์อาจารย์ติ๊ก
คุณจะได้เห็นความสนใจ ความเปลี่ยนแปลงและข้อสังเกตในสิ่งรอบตัวของคนๆ หนึ่ง
ที่จะทำให้คุณได้ร่วมคิดกับสิ่งต่างๆ และอยากเก็บความคิดเหล่านั้นไว้เหมือนผม
อีกนัยหนึ่ง… หนังสือเล่มนี้ก็คงเป็นเหมือนการคิดทบทวนของตัวผู้เขียนเองด้วยเช่นกัน
ผมรู้สึกดีใจที่สามารถย้อนกลับเข้าไปทบทวนความคิด
ใน “กล่องความทรงจำของสันติเล่มนี้” ได้อีกครั้ง

 

TYPETRIP TO HONG KONG 2014

TYPE TRIP opening recap_Page_1

2014-0111-TypeTrip_0598 2014-0111-TypeTrip_0022

2014-0111-TypeTrip_0127

TYPE TRIP opening recap_Page_4

“TYPE TRIP-The New Asian Graphic Design Exhibition” attempts to explore the relationship between graphic design and typography from eight different Asian cities. Initiated by Japanese design journal typographics ti: in 2011, “TYPE TRIP” began at ddd gallery in Osaka. Not only travelling in Asia, but this project initiated meetings with different talented graphic designers and studios via face-to-face interviews, in the attempt to diverse typographic matters and identity related to their own cities and graphic language. These cities included SEOUL, HONG KONG, SINGAPORE, TAIPEI, SHENZHEN, BANGKOK and BEIJING.
Presented by K11 and in cooperation with DNP Foundation for Cultural Promotion (Japan), co-curated by Hong Kong based independent graphic design studio Milkxhake and Japan design unit OOO Projects (Osaka), “TYPE TRIP – The New Asian Graphic Design Exhibition” features typographics ti: and seven graphic designers’ works, aims to build a new cultural platform for contemporary Asian graphic designers to exchange ideas and creativity among eight different cities, and to discover “TYPE TRIP” in a fresh perspective.

DATE: 11 JAN – 9 MAR 2014
VENUE: K11 art space (B207), HONG KONG

http://typetrip.tumblr.com

dream is a real is a dream is a real …

Title: dreamisarealisadreamisarealisadream*
Year: 2013
Technique: Oak Wood, Paper & Acrylic
Size: Table & Chair Set 102 x 88 x 74 cm, Acrylic 40 x 40 cm

*This title of work was inspired by the sentence “Rose is a rose is a rose is a rose.” was written by Gertrude Stein as part of the 1913 poem Sacred Emily, which appeared in the 1922 book Geography and Plays.

SWEET NIGHTMARE
Curated by Ark Fongsmut
9 November – 19 December 2013
At Bangkok University Gallery, City Campus

Selection D&R008

 

Selection D&R006

Selection D&R012

 

Selection D&R009

 

 

Selection D&R003
Photo Credit: © Santi Lawrachawee

 

หลายต่อหลายครั้ง…
ความฝันสลาย…เมื่อความจริงปรากฏ
ความจริงปรากฏ…เมื่อความฝันสลาย
ความฝันสลาย…เมื่อความฝันสลาย
ความจริงสลาย…เมื่อความจริงสลาย
ความจริงปรากฏ…เมื่อความจริงปรากฏ
ความฝันปรากฏ…เมื่อความฝันปรากฏ
ความฝันปรากฏ…เมื่อความจริงสลาย
ความจริงสลาย…เมื่อความฝันปรากฏ

Now it has become clear for many people that what we call ‘reality’ is facing a problematic issue in itself. This is a consequence from the age of globalization, when we are overwhelmed with a flood of information that reaching conclusion by one’s own judgment requires tremendous effort. When the world of reality is distorted, it is unsurprising that the world of dream cannot remain unaffected.

Sometimes it is almost impossible to distinguish between the world of reality and the world of dream. Based on this premise, six artists, including Arin Rungjang, Kornkrit Jianpinidnan, Dusadee Huntrakul, Santi Lawrachawee, Jaitip Jaidee and Thanarat Siripidej, were invited to share their personal stories. Collection of various stories being simultaneously presented leads to confrontation in terms of difference and indifference. However, each artist’s dream has its own unique qualities. Being embodied with rationality, cognition, or even pure superstition, all these dreams are compiled and arranged in the Sweet Nightmare exhibition, which reflects the state of paradox in people and society.

The six artists’ creative process in conceptual art stands on the line between reasoning and emotional expression to convey stories from various cognitions, experiences or assumptions through different art media. The exhibition will be on show from 9 November – 19 December 2013, with the opening reception on 9 November 2013, 6 pm, at Bangkok University Gallery, City Campus.

 

1397955_10202444866190034_1436991232_o

Photo Credit: © Dusadee Huntrakul

Behind the hole – Resort Exhibition

“I’d like to say “thank you” on behalf of the group and ourselves and I hope we passed the audition.” (John Lennon)
Let me use this classic closing line of the Beatles’ rooftop concert on 30 January 1969
to say big thank you everyone who collaborated with me for my work “give me your story, I’ll give you mine”.

Thanks to:
– BACC’s Staffs
– Pichaya Suphavanij
– ibookevenue (K.Tee & team)
– Practical Design Studio
– Bell Kanoknuch Sillapawisawakul
– Moo Nattapol Rojjanarattanangkool
– Nutdao Nuttapong Daovichitr
– Peam and his Supernormal team
– A.Tan Sansern Milindasuta
– A. Thanet Awsinsiri
– A.Ball Piyaluk Benjadol
– Papad Salosalay
– Toth Kanteera Sanguantung
– and some stories. . . .

000inspiration 001-sketch Continue reading “Behind the hole – Resort Exhibition”

TK Stripe 2010

TK stripe is my personal project that designed striped graphic
from letter T & letter K.
T&K came from my nickname (TiK) and my country
(Kingdom of Thailand).

I have designed these 2 letterforms in variety striped graphics.
In 2010, I’ve designed the first version for T-shirt Brand
and Mini car. Then I am developing the new version of
TK Stripe, will launch in early 2011.

TK Stripe by Santi Lawrachawee © 2010. All right reserved.
collaborated with Nattapol Rojjanaratanangkool.

TK stripe for MINI Clubman
(1 of 4 the official car of Bangkok Design Festival 2010)

TK Stripe for Designiti (T-shirt Brand)

^ ©2010. http://www.designiti.com

^ @ BDF2010 Grand Opening, Centralworld.

World Silent Day Poster

Bookmark and Share


“Silence is the ally of melodious sound”
My poster design invited by Indonesian Graphic Design Association (Adgi)
in collaboration with Bali Creative Community

To participate in joining in campaigning World Silent Day
movement through poster design.

The posters will be exhibited in Bangkok Art & Culture Center
conjunctioning with Bangkok Design Festival 2010 in 20-30 November,
Epiwalk Creative Fairground in Jakarta in November as well and
Bali Creative Festival in December.

No conical hats : Southeast Asian works on paper

Yes, we are left, we are right. ©2010. Santi Lawrachawee

A fabulous journey across Southeast Asia with only a piece of
paper to record the adventure. Artists Sandrine Llouquet (Vietnam),
Jason Wee (Singapore), Justin Lee (Singapore), Manjeet Shergill
(Singapore), Frances Alleblas (Singapore/Holland),
Santi Lawrachawee (Thailand), Florence Notte (Singapore/France),
Guy Duke (Singapore/UK), Therese Marie Emilyn Ng (Singapore)
capture SEA using print, charcoal, watercolour, pencil, ink, acrylic
and digital photography

Private View: Wednesday 12th May 5-9pm
@ Give Art, 65 Spottiswoode Park Road

Exhibition open Thursday 13th May – Saturday 15th May
from 12-8pm
(thereafter until 12th June, by appointment only – info@giveart.net)

Continue reading “No conical hats : Southeast Asian works on paper”

Wonderful Thai Friendship

Bookmark and Share


Wonderful Thai Friendship is the first art exhibition at WTF Gallery.
The show aims to introduce the exhibition space to the local
community and Bangkok people at large. The exhibition takes the
inspiration from a typical “summer show” in New York City,
where a diverse collection of artists and work is organized around
a theme — often playful or irreverent. Wonderful Thai Friendship
may be found in the commentary of the works themselves or from
the simple fact many of the creators and curator are indeed good
friends (or not!) Summer is a time to escape pressures and the
heat (from the weather or man-made.) WTF will be a cool oasis in
the city during these steamy months!

The exhibition features 13 artworks by 13 artists —
Thais or reside in Thailand, both established and up-and-coming.
The exhibition is comprised of varied contemporary media:
drawing, printmaking, mixed-media, video installation,
photography and performance.

All works are the artists’ signature pieces and handpicked
by Chattiya Nitpolprasert, the young Thai curator who co-curated
Thai Pavillion at Venice Biennale 2009.

ARTISTS

Amrit Chusuwan – Gene Kasidit – Imhathai Suwatthanasilp –
James Rupert – Krit Ngamsom – Kwanchai Lichaikul –
Landry Dunand – Michael Shaowanasai – Pisitakul Kuntalang –
Prateep Suthathongthai – Sakarin Krue-on –
Santi Lawrachawee – Sutee Kunavichayanont

DATE/TIME/VENUE

Opening Reception
Thursday 29 April 2010, 7pm

Wonderful Thai Friendship Exhibition
Exhibition on view from 29 April – 30 June 2010
Wednesday – Sunday, 1500-2200h
Continue reading “Wonderful Thai Friendship”