News — MemOyoU — art4d

SANTI LAWRACHAWEE, GRAPHIC DESIGNER AND CO-FOUNDER OF PRACTICAL DESIGN STUDIO, EXPLORES AND DIVES DEEP INTO THE TRACE OF HIS MEMORIES OF THE PAST DECADE IN HIS LATEST EXHIBITION FEATURING A SERIES OF BLACK AND WHITE PHOTOGRAPHY CAPTURING THE LINE OF THE RIVER AS WELL AS HIS LARGE AND THICK NOTEBOOK TEXT: SUTEE NAKARAKORNKUL PHOTO: KETSIREE WONGWAN https://art4d.com/en/2021/08/memo-you

แถลงการณ์ First Things First ฉบับ 2020

https://www.firstthingsfirst2020.org/ แถลงการณ์ First Things First ฉบับ 2020 พวกเรา ผู้ร่วมลงนามทั้งหลาย คือนักออกแบบผู้ที่เติบโตบนโลกที่พวกเราแสวงหาประโยชน์ผลกำไรจากผู้คนและโลกใบนี้ ด้วยความพยายามที่จะรักษาอัตราเร่งของระบบทุนนิยมให้ลื่นไหลต่อเนื่อง เวลาและพลังงานของพวกเราถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่ออุปสงค์การผลิต เอารัดเอาเปรียบผู้คน เผาผลาญทรัพยากร ถมพื้นดิน สร้างมลภาวะทางอากาศ ส่งเสริมการประกาศอาณานิคม และผลักดันโลกไปสู่การสูญพันธุ์ครั้งที่หก เราช่วยสร้างชีวิตที่สะดวกสบายและมีความสุขให้กับสายพันธุ์บางกลุ่มของเรา และยินยอมปล่อยปละให้ไปทำร้ายกลุ่มอื่นๆ; หลายต่อหลายครั้ง, การออกแบบของเรา, จึงส่งเสริมการกีดกัน, แบ่งแยก, และทำลายล้าง อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบไม่น้อยได้ร่วมต่ออายุคตินิยมนี้; ตลาดก็ยอมรับและให้รางวัลกับมัน; กระแสการลอกเลียนแบบและยอด “ไลค์” ยังช่วยส่งเสริมให้อีกทาง และด้วยการสนับสนุนในทิศทางเช่นนี้ นักออกแบบจึงหันไปใช้ทักษะและจินตนาการของพวกเขาในการขายสินค้าแฟชั่นแบบมาเร็วไปเร็ว, รถยนต์แรงเร็ว, และอาหารกินด่วน; ถ้วยที่ใช้แล้วทิ้ง, บับเบิ้ลห่อของ, และพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ใช้กันอย่างไม่สิ้นสุด; ของเล่นประเภทฟิดเจ็ด สปินเนอร์, อาหารอุ่นไมโครเวฟ, และเครื่องตัดขนจมูก เราทำการตลาดด้วยภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรงและอาหารการกินที่ไม่มีผลดีต่อสุขอนามัย ผลิตภัณฑ์และแอพพลิเคชั่นที่แพร่การโดดเดี่ยวต่อสังคมและภาวะซึมเศร้า การบริโภคจากระบบอาหารที่ไม่สมดุล พวกเราขายยาที่ทำให้รู้สึกดี กระปี้กระเป่า และทำให้ผู้คนไถฟีดหน้าจออย่างไม่หยุดยั้ง ... แล้วทำให้เกิดความต้อการที่จะบริโภคซ้ำแล้วซ้ำอีก ใช่! งานเชิงพาณิชย์จ่ายค่าตอบแทนให้เสมอ แต่นักออกแบบหลายคนปล่อยให้มันเกิดขึ้นจนเด่นชัด, กลายเป็นสิ่งสามัญที่นักออกแบบทำ, และกลายเป็นสิ่งที่โลกรับรู้ต่อการออกแบบ พวกเราหลายคนเริ่มรู้สึกอึดอัดมากขึ้นกับมุมมองของการออกแบบเช่นนี้ … Continue reading แถลงการณ์ First Things First ฉบับ 2020

ศูนย์กลางอยู่ทุกหนแห่ง

บทความว่าด้วยการสำรวจตัวพิมพ์ไทยฉบับย่อ โดย สันติ ลอรัชวี หากย้อนกลับไปสำรวจแบบตัวพิมพ์ไทย ในช่วงศตวรรษที่ ๑๘  จะพบว่ากว่าหนึ่งร้อยปีที่การพิมพ์ในประเทศไทยได้ขาดช่วงไป จนกระทั่งถึงช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕) กระบวนการพิมพ์จึงได้กลับสู่เมืองไทย ทำให้รูปแบบตัวอักษรไทยเกิดความก้าวหน้าขึ้นอีกครั้ง ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกเหนือจากเรื่องราวแสนโรแมนติกของออกขุนศรีวิศาลวาจาและแม่การะเกด จากละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของคนไทยอยู่ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว ยังมีหลักฐานอ้างอิงได้อีกว่า ในยุคนั้นการพิมพ์ในประเทศไทยกำลังสร้างปฐมบทขึ้น จากการเดินทางของคณะมิชชันนารีคาทอลิกจากฝรั่งเศสเข้ามาในไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีสังฆราชหลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) ได้แต่ง แปล และพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนา เป็นภาษาไทยจำนวน ๒๖ เล่ม หนังสือไวยกรณ์ไทยและบาลี ๑ เล่ม และพจนานุกรมไทยอีก ๑ เล่ม จากหนังสือ “หนึ่งรอยตัวเรียง” บันทึกว่า การเข้ามาสอนศาสนาและวิชาการต่างๆ เข้ามาอย่างเป็นระบบ และมีตำราเรียนประกอบของสัฆราชลาโน เหล่านี้อาจเป็นแรงจูงใจให้สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้พระโหราธิบดี จัดทำหนังสือ “จินดามณี” อันมีเนื้อหาว่าด้วยระเบียบของภาษาอักรวิธีเบื้องต้น และวิธีแต่งโคลง … Continue reading ศูนย์กลางอยู่ทุกหนแห่ง

เข้าแบบ – ออกแบบ

FAB Special Talk Tuesday Series ครั้งที่ 1 วันอังคารที่ 16 มกราคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Moderator จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์ – บรรณาธิการบริหาร a day Speaker สุรชัย พุฒิกุลางกูร – กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิลลูชั่น จำกัด สันติ ลอรัชวี – นักออกแบบ แพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ ขอขอบคุณ คณาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และกลุ่มนักศึกษาที่รักที่ช่วยถอดเทปการเสวนาให้ มา ณ โอกาสนี้ครับ ขอบคุณภาพจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จิรเดช : สวัสดีน้องๆ และอาจารย์ทุกท่านครับ ถ้าสังเกตบนเวทีนี้ ทั้งสามท่าน ผมก็จะเด็กที่สุด การเลือกนี้มีเหตุผลนะครับ คืออาจารย์ติ๊กตั้งใจอยากให้ผม เป็นตัวแทนของน้องๆ เด็กๆ ที่นั่งฟัง ว่าคนในวัยนี้ควรรู้อะไร … Continue reading เข้าแบบ – ออกแบบ

บันทึกการบรรยาย สัญศาสตร์การออกแบบ

โดย สันติ ลอรัชวี ศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 ผ่านโปรแกรม Zoom.us  สวัสดีครับ นักศึกษาและทุกท่านที่สนใจเข้ารับฟังบรรยายในครั้งนี้ กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Design Semiotics ภายใต้หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ขอขอบคุณหลักสูตรฯ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับที่ให้โอกาสกับผมในการสอนวิชานี้มาอย่างต่อเนื่อง ทำไมนักออกแบบถึงสนใจสัญศาสตร์? ผมมารู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นผู้สอนวิชาสัญศาสตร์กับการออกแบบมาร่วม 10 ปีแล้ว อย่างไรก็ตามผมยอมรับกับตัวเองมาหลายปีแล้วว่า ตนเองเป็นเพียงนักออกแบบที่สนใจศึกษาสัญศาสตร์ และพยายามนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานออกแบบของตนเอง แนวทางการสอนของผมจึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเกี่ยวกับ แนวคิดด้านสัญศาสตร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในกระบวนการออกแบบและการนำเสนอผลงาน รวมถึงการวิเคราะห์ หรือ ที่ผมมักเรียกว่า “การอ่านออก-เขียนภาพ (visual literacy)” ต่องานออกแบบให้ละเอียดละออยิ่งขึ้น ส่วนตัวจึงไม่เคยเชื่อมั่นว่าตนเองเข้าใจสัญศาสตร์ดีนัก แต่ความสนใจกลับทวีเพิ่มขึ้นตามลำดับ การสอน จึงเปรียบเป็นการเคี่ยวกรำให้ตัวเอง เรียนรู้ เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ รู้จักสัญศาสตร์ได้อย่างไร ผมรู้จักสัญศาสตร์จากคำแนะนำของอาจารย์ของผมท่านหนึ่ง เราเคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมเราเรียก “ม้า” ว่า “ม้า” แล้วทำไมเราถึงเขียนและอ่านคำว่า “ม้-า” ว่า “ม้า” ยังไม่รวมถึงการที่เราพูดหรือเขียน … Continue reading บันทึกการบรรยาย สัญศาสตร์การออกแบบ

อ่านออก เขียนภาพ

โดย สันติ ลอรัชวี (เอกสารประกอบเวิร์คช็อป Visual Literacy จัดโดย PRACTICAL Design Studio, 7 ต.ค. 2560) การอ่านภาพ (Visual Literacy)  อธิบายได้ว่าคือความสามารถในการเข้าใจและใช้ภาพ รวมทั้งความสามารถในการคิด ในการเรียน และแสดงออกของตัวเองต่อภาพที่มองเห็น ไม่มีใครปฏิเสธว่า “ภาพ” เป็นสิ่งหนึ่งช่วยให้การสื่อสารสมบูรณ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาจสรุปได้ว่าการอ่านภาพคือความสามารถทางด้านการมองเห็นของมนุษย์ และใช้ความสามารถนั้นในการจำแนกและแปลความหมาย สิ่งที่มองเห็นเพื่อการติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และมีสุนทรียภาพ คำว่า Visual Literacy สามารถแยกแปลความหมายของคำนี้ได้คือ “Visual” หมายถึงสิ่งที่เกี่ยวกับจักษุประสาทหรือสิ่งที่ตามองเห็น ซึ่งอาจเรียกรวมว่า “ภาพ” ก็ได้ “Literacy” หมายถึงความสามารถในการอ่านเขียนหรือการเรียนรู้ “การอ่านออกเขียนภาพ” จึงเป็นรูปแบบของการคิดที่สำคัญ ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางการสื่อสารเชิงภาพให้กับนักออกแบบ การสื่อและรับสารทางสายตานั้นมีความผูกพันกับมนุษย์ก่อนจะมีภาษาพูดและเขียนด้วยซํ้า ภาพเขียนในผนังถํ้า การสังเกตสีของผลไม้ พัฒนามาเป็นสัญลักษณ์สากลมากมายที่เราใช้กันในปัจจุบัน หากแต่มนุษย์เริ่มคิดผ่านอิทธิพลของ ภาษาหลังจากที่อารยธรรมด้านภาษาของเราวิวัฒน์มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นภาษา (Linguistics) จึงเป็นระบบการสื่อสารที่มี อิทธิพลต่อมนุษย์ เราทั้งใช้มันในการคิด การรับรู้ และการแสดงออก … Continue reading อ่านออก เขียนภาพ

ความท้าทายของการออกแบบ

เรียบเรียงจาก Series Foreward, Design Thinking, Design Theory Series ของ MIT Press โดย สันติ ลอรัชวี หนังสือชุด Design Thinking, Design Theory Series ของ MIT Press ได้ตีพิมพ์หนังสือที่เสนอแนวคิดและทฤษฎีการออกแบบที่ควรค่าแก่การอ่านหลายต่อหลายเล่ม ส่วนที่น่าสนใจคือบทบรรณาธิการชุดหนังสือ ( Series Foreward) ที่เขียนโดยสองบรรณาธิการ ได้แก่ เคน ฟรีดแมน และ อีริค สโทลเทอร์แมน ที่กล่าวถึงความเป็นมาของการออกแบบจนมาถึงความท้าทายที่นักออกแบบทุกสาขากำลังเผชิญร่วมกัน 10 ประการ อันเป็นประเด็นที่ชวนให้นักออกแบบมาคิดต่อถึงบทบาทหน้าที่ คุณค่า และนิยายามของสิ่งที่เรากำลังเรียกมันเป็นอาชีพ หากสิ่งที่เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนนั่นคือ “การออกแบบ” สำหรับผม… ความท้าทายในบทนำนี้ ย่อมไม่การคาดการณ์ที่ชี้ขาดต่อความเป็นไปของนิยามและคุณค่าการออกแบบ วิธีการออกแบบ และนักออกแบบ หากเป็นคำถามพื้นฐานสำคัญที่อาจจะต้องหมั่นปรับปรุงคำตอบของตนเองให้สอดคล้องกับความเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของสิ่งที่กำลังทำ เข้าใจสิ่งที่กำลังเรียกขานตัวเอง ให้สัมพันธ์กับ “กาละ-เทศะ” อยู่เสมอ นิยามที่ว่าการออกแบบเป็นระบบความสัมพันธ์ยังคงสมเหตุสมผล … Continue reading ความท้าทายของการออกแบบ

พรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกไซน์

สนทนากับนักออกแบบระดับแนวหน้าของไทยผู้ก้าวข้ามพรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกไซน์ โดย ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ เครดิตจาก Wurkon ภาพถ่ายบุคคลโดย ศุภชัย เกศการุณกุล ถ้าพูดถึงชื่อ สันติ ลอรัชวี คนรักงานกราฟิกดีไซน์คงรู้จักเขาเป็นอย่างดีในฐานะนักออกแบบกราฟิกชั้นแนวหน้าของไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง แพรคทิเคิล สตูดิโอ (Practical Design Studio) สตูดิโอออกแบบชั้นนำของประเทศไทย เจ้าของผลงานออกแบบปกหนังสือของสำนักพิมพ์ openbooks มากมายหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นในชุด Wisdom Series อันประณีตงดงาม ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และปกหนังสือ มูซาชิ อันเรียบง่ายเฉียบคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลงานการออกแบบปกหนังสือ สิทธารถะ ของ เฮอร์มาน เฮสเซ ฉบับภาษาไทย ที่ออกแบบและผลิตอย่างประณีต พิถีพิถัน และงดงามราวกับเป็นงานศิลปะ และพิมพ์ในจำนวนจำกัดเพียงแค่ 1,000 เล่ม โดยเปิดให้เข้าไปจับจองทางออนไลน์ ก็สร้างปรากฏการณ์ด้วยการที่หนังสือถูกจองจนหมดเกลี้ยงภายในเวลาแค่ 12 ชั่วโมง นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้ออกแบบนิทรรศการศิลปะและการออกแบบอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการ Show Me Thai ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย … Continue reading พรมแดนระหว่างศิลปะและกราฟิกไซน์

Interview — Cloud of thoughts: โดยสันติ

Writer: จิรเดช โอภาสพันธ์วงศ์Photographer: มณีนุช บุญเรืองเครดิตจาก The Cloud ท่ามกลางผลงานของนักออกแบบสัญชาติญี่ปุ่นในงาน Graphic Trial 2018 ที่ Printing Museum Tokyo มีผลงานของนักออกแบบไทยปรากฏอยู่ นี่เป็นครั้งแรกที่นักออกแบบกราฟิกไทยได้รับเชิญไปร่วมสร้างและแสดงงาน เจ้าของผลงานนั้นคือ สันติ ลอรัชวี ตั้งแต่วันแรกที่เข้าวงการจนถึงวันนี้และวันหน้า สันติบอกว่าเขาคือ กราฟิกดีไซเนอร์ “ผมจะพยายามเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ในประเทศไทยที่ทำจนตาย” เขาเอ่ยประโยคนี้ระหว่างที่เรานั่งคุยกันในร้านกาแฟใกล้ๆ PRACTICAL Design Studio ที่เขาเป็นผู้ก่อตั้ง ผลงานที่ผ่านมาของเขามากมายเกินกว่าจะไล่เรียงได้หมดภายในย่อหน้าเดียว ในปี 2015 เขาได้รับรางวัล Designer of the Year สาขาการออกแบบกราฟิกจากนิตยสาร Wallpaper* และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ แต่หากจะให้ยกตัวอย่าง ผลงานล่าสุดของเขาที่น่าจะคุ้นตานักอ่านคือหน้าปกหนังสือ The Wisdom Series ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ทุกเล่ม ไล่ตั้งแต่ ปัญญาอนาคต, ปัญญาอดีต และปัญญาหนึ่งถึงร้อยหมื่น เมื่อรู้ว่าเขาได้รับเชิญไปแสดงงานที่ญี่ปุ่น ผมจึงนัดพบเขาในบ่ายวันหนึ่งเพื่อคุยกันถึงสิ่งที่เขาได้ค้นพบจากดินแดนที่งานออกแบบกราฟิกก้าวหน้าและชวนตื่นตาที่สุดแห่งหนึ่งในโลก … Continue reading Interview — Cloud of thoughts: โดยสันติ