Chamber Music

จากเว็บไซต์ anothain.com ของอาจารย์อโณทัย นิติพน กล่าวถึงจิตรกรรมนี้ ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสนทนาและการตีความต่อของผม ในการนำเอาภาพของศิลปิน Stelly Grancharov ไปเรียบเรียง ซึ่งเป็นสิ่งปรกติสำหรับนักดนตรีส่วนใหญ่ที่มักจะเล่นบทเพลงที่มีอยู่แล้ว โดยอาจมีเพียงแค่การจัดวางใหม่ โดยมิได้ก้าวข้ามไปถึงการสร้างสรรค์งานใหม่ขึ้นจากเสียงเสียงแรก แต่ในแง่มุมของงานศิลปะ สิ่งเหล่านี้ กลับกลายเป็นสิ่งใหม่ เนื่องจากศิลปินของภาพ ที่ทำงานอยู่กับสื่อของการหยุดนิ่งและความคงสภาพของการจัดวาง ไม่ว่าจะในรูปแบบภาพเขียนหรือการพิมพ์ ก็ยังมีความท้าทายในเรื่องของการจัดวางวัตถุ หรือสร้างวัตถุขึ้นมาใหม่ เพื่อไม่ให้ซ้ำกับสิ่งที่เคยมี  ... แต่ในโลกของดนตรี การทำซ้ำกลับเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับ ยิ่งซ้ำ ยิ่งเหมือน ยิ่งเก่า ยิ่งใช่ ค่าของงาน ในยุคสมัยหนึ่งอยู่ที่การทำซ้ำแล้วเหมือน จนกลายมาเป็นความเจ็บปวดของศิลปินนักดนตรีในปัจจุบันที่คนเลิกไปดูคอนเสิร์ตเพราะฟังแล้วไม่เหมือนซีดี ...   งานนี้ อาจเป็นการส่งต่อโจทย์ให้กับงานภาพ แต่ได้รับคำตอบกลับมาคิดในเรื่องของ Arrangment ของดนตรี ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ว่ามิติของเวลา จะเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีอิสระเพิ่มขึ้น ในการทำงานกับดนตรีข้ามศตวรรษ สิ่งที่ได้ยิน อาจเหมือนเดิม (หรือไม่เหมือนเดิมก็ได้เพราะไม่มีใครรู้) แต่การจัดวาง ก็คงเป็นความท้าทายและพื้นที่ที่ทำให้เราได้คิดไม่รู้จักจบสิ้น แต่สิ่งสำคัญคงเป็นการสร้าง Dialogue เพื่อให้โจทย์และคำตอบเหล่านี้ มีชีวิตและสร้างสิ่งต่อไปสำหรับเราได้ ... สำหรับผมแล้วนับเป็นสิ่งใหม่และท้าทายต่อความรู้สึกตนเองอย่างมาก ว่าจะรักษาสมดุลย์ระหว่างความยกย่องนับถือต่องานต้นฉบับกับความคิดเห็นของตนเอง … Continue reading Chamber Music

PGVIM

การแสดงมหรสพ ระหว่างการจัดนิทรรศการ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดย วงดุริยางค์สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ออกแบบโดย สันติ ลอรัชวี ©2017. Santi Lawrachawee      

Peace & Hospitality: from Derrida to Kant

“Peace & Hospitality: from Derrida to Kant” Poster for Philosophy Seminar สัมมนาหัวข้อ สันติภาพกับความโอบอ้อมอารี: จากแดร์ริดา ถึงค้านท์ โดย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Black Circle Design by Santi Lawrachawee ©2017.

Thai Naris Handwriting Script

Poster for Santi Lawrachawee's workshop. Assembling the Components of Thai Naris Handwriting Script at GRANSHAN Conference 2014, Munich, Germany. Design Director: Santi Lawrachawee Designer: Nattapol Rojjanarattanangkool & Nuttapong Daovichitr แบบไทยนริศ : บนสู่ล่าง แคบสู่กว้าง เขียนโดย สันติ ลอรัชวี แบบเขียนตัวอักษรไทยรูปแบบสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หรือ ที่เรียกสั้นๆ กันว่า "แบบไทยนริศ*" คือลักษณะตัวอักษรที่สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (1863-1947) เป็นผู้คิดค้นรูปแบบขึ้น ซึ่งเขียนด้วยปากกาปากแบบหรือพู่กันปากแบน จะเห็นได้จากผลงานการออกแบบหัวปกหนังสือ ตาลปัตรพัดรอง ของพระองค์ เป็นแบบเขียนที่นิยมกันมากจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะงานที่ยังต้องใช้การเขียนด้วยมือโดยไม่ต้องร่างก่อน เช่น ในใบประกาศนียบัตรหรือใบอนุโมทนาบัตรทางศาสนา ป้ายประกาศในเทศกาลและพิธีกรรมท้องถิ่น รวมถึงพบกันมากในป้ายตัวหนังสือไม้ไปจนถึงตัวอักษรอคริลิค การเขียนในรูปแบบนี้คล้ายการนำริบบิ้นมาพับ … Continue reading Thai Naris Handwriting Script