ศูนย์กลางอยู่ทุกหนแห่ง

บทความว่าด้วยการสำรวจตัวพิมพ์ไทยฉบับย่อ โดย สันติ ลอรัชวี หากย้อนกลับไปสำรวจแบบตัวพิมพ์ไทย ในช่วงศตวรรษที่ ๑๘  จะพบว่ากว่าหนึ่งร้อยปีที่การพิมพ์ในประเทศไทยได้ขาดช่วงไป จนกระทั่งถึงช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๕) กระบวนการพิมพ์จึงได้กลับสู่เมืองไทย ทำให้รูปแบบตัวอักษรไทยเกิดความก้าวหน้าขึ้นอีกครั้ง ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกเหนือจากเรื่องราวแสนโรแมนติกของออกขุนศรีวิศาลวาจาและแม่การะเกด จากละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของคนไทยอยู่ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว ยังมีหลักฐานอ้างอิงได้อีกว่า ในยุคนั้นการพิมพ์ในประเทศไทยกำลังสร้างปฐมบทขึ้น จากการเดินทางของคณะมิชชันนารีคาทอลิกจากฝรั่งเศสเข้ามาในไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีสังฆราชหลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) ได้แต่ง แปล และพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนา เป็นภาษาไทยจำนวน ๒๖ เล่ม หนังสือไวยกรณ์ไทยและบาลี ๑ เล่ม และพจนานุกรมไทยอีก ๑ เล่ม จากหนังสือ “หนึ่งรอยตัวเรียง” บันทึกว่า การเข้ามาสอนศาสนาและวิชาการต่างๆ เข้ามาอย่างเป็นระบบ และมีตำราเรียนประกอบของสัฆราชลาโน เหล่านี้อาจเป็นแรงจูงใจให้สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้พระโหราธิบดี จัดทำหนังสือ “จินดามณี” อันมีเนื้อหาว่าด้วยระเบียบของภาษาอักรวิธีเบื้องต้น และวิธีแต่งโคลง … Continue reading ศูนย์กลางอยู่ทุกหนแห่ง

ปฐมบทสู่หน้าว่างของการพิมพ์ไทย

ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกเหนือจากเรื่องราวแสนโรแมนติกของออกขุนศรีวิศาลวาจาและแม่การะเกด จากละครเรื่องบุพเพสันนิวาส ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของคนไทยอยู่ในขณะนี้ (พ.ศ. ๒๕๖๑) ยังมีหลักฐานอ้างอิงได้อีกว่า ในยุคนั้นการพิมพ์ในประเทศไทยกำลังสร้างปฐมบทขึ้น จากการเดินทางของคณะมิชชันนารีคาทอลิกจากฝรั่งเศสเข้ามาในไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีสังฆราชหลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) ได้แต่ง แปล และพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนา เป็นภาษาไทยจำนวน ๒๖ เล่ม หนังสือไวยกรณ์ไทยและบาลี ๑ เล่ม และพจนานุกรมไทยอีก ๑ เล่ม จากหนังสือ “หนึ่งรอยตัวเรียง” เขียนว่าการเข้ามาสอนศาสนาและวิชาการต่างๆ อย่างเป็นระบบ และมีตำราเรียนประกอบของสังฆราชลาโน อาจเป็นแรงจูงใจให้สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดให้พระโหราธิบดี จัดทำหนังสือ “จินดามณี” อันมีเนื้อหาว่าด้วยระเบียบของภาษาอักรวิธีเบื้องต้น และวิธีแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เพื่อสอนแก่เข้าขุนมูลนายและสำนักเรียนในวัด ตลอดจนชาวบ้านทั่วไป นับเป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรกและสืบทอดต่อกันมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ น่าเสียดายที่หนังสือจินดามณีที่เขียนจากสมุดข่อยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์คัดลอกต่อกันมาโดยไม่ได้จารวันเวลาที่เขียนเอาไว้ จึงทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าเล่มใดเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นในยุคสมัยนี้ สังฆราชลาโนยังสร้างศาลาเรียนขึ้น ในพื้นที่พระราชทานที่ตำบลเกาะพราหมณ์เหนือกรุงเก่าขึ้นไป และได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่โรงเรียนแห่งนี้ ตามบันทึกของ ท่านเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ … Continue reading ปฐมบทสู่หน้าว่างของการพิมพ์ไทย