การถ่ายภาพ จริยธรรม และเบเนตอง

โดย ทิบอร์ คาลมาน
จักรพันธ์ วิลาสินีกุล : ผู้แปล
Tibor Kalman. “Photography, Morality, and Benetton.”
: Looking Closer 2 Critical Writings on Graphic Design,
Allworth Press, 1997, P.230-232.

ตีพิมพ์ใน บทวิเคราะห์และสรรนิพนธ์ สาขาทัศนศิลป์
จากการวิจัยเรื่อง การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย Continue reading “การถ่ายภาพ จริยธรรม และเบเนตอง”

พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



จากบทสัมภาษณ์ของคุณฮิโรมิ อินาโยชิ นักออกแบบชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ออกแบบ
พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ชุดที่ท่านผู้อ่านเห็นอยู่นี้
ในวารสาร “ในวงการพิมพ์” (http://www.thethaiprinter.com)
กล่าวไว้ว่าการได้รับโอกาสเป็นผู้ออกแบบ “พระนามบัตรในหลวง” นั้นมีที่มาจากการจัดนิทรรศการ
แสดงผลงานการออกแบบสัญลักษณ์และสี ในงานของสหประชาชาติ ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี
เมื่อปี พ.ศ. 2545 และมีบุคคลในสำนักพระราชวังไปเห็นฝีมือ จึงให้ความสนใจและหารือ
ถึงการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อถวายในหลวง เนื่องในวโกาสครบรอบ 75 พรรษา Continue reading “พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

ความคิดสร้างสรรค์บนกระดาษใบเล็ก

วารสาร RawMat ฉบับที่ 2

ของสะสมอย่างหนึ่งของผมก็คือ นามบัตร ไม่ว่าจะเป็นนามบัตรของเพื่อน คนรู้จัก ลูกค้า
บริษัทห้างร้านต่างๆ ผมจะพยายามเก็บสะสมไว้ ผมมีนามบัตรของเพื่อนบางคน
ตั้งแต่ทำกันเองสมัยเรียน มาเป็นนามบัตรของที่ทำงานแห่งแรกจนกระทั่งเป็นนามบัตร
ของบริษัทที่เป็นเจ้าของเอง รวมแล้วบางคนมีถึง 6-7 แบบด้วยกัน Continue reading “ความคิดสร้างสรรค์บนกระดาษใบเล็ก”

พระเจ้าเป็นนักคณิตศาสตร์?

ช่วงปี 1000-1500 เป็นระยะเวลาที่ยุโรปกำลังตกอยู่ในยุคมืด เพราะภูมิปัญญาโบราณต่างๆ ถูกทอดทิ้ง และอารยธรรมตกต่ำ แต่ความสนใจในวิทยาการด้านคณิตศาสตร์ก็ยังบังเกิดขึ้นอีกคำรบหนึ่ง เมื่อ Gilbert แห่ง Aurillac (พ.ศ. 1481-1546) นำเลขอาหรับมาใช้ในวงการวิชาการของยุโรป และ Fibonacci แห่งเมือง Pisa ในอิตาลีได้ใช้วิธีการคำนวณเลขของชาวอาหรับในการเรียบเรียงหนังสือชื่อ Liber a baci ซึ่งแปลว่า ตำราคำนวณในปี พ.ศ. 1745 หนังสือเล่มนี้มีโจทย์คณิตศาสตร์และพีชคณิตมากมาย และมีลำดับ Fibonacci (Fibonacci sequence) ด้วย ซึ่งลำดับนี้คือ ชุดเลข 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34 โดยตั้งแต่จำนวนที่ 3 ไปเป็นเลขที่ได้จากการรวมเลข 2 ตัวหน้าที่อยู่ติดมัน เช่น 2 = 1+1, 5 = 2+3 และ 34 = 13+21 เป็นต้น Continue reading “พระเจ้าเป็นนักคณิตศาสตร์?”

Hello! Is anybody there?

หนังสือเล่มเล็กๆ ที่ผมประทับใจในช่วงหลายปีมานี้ มีชื่อแปลเป็นไทยว่า “สวัสดีชาวโลก” หรือ “Hello! Is anybody there?”
ผลงานของโยสไตน์ กอร์เดอร์ แปลโดย วิลาวัณย์ ฤดีศานต์ หลายๆ คนคงรู้จักกอร์เดอร์จากหนังสือเรื่อง “โลกของโซฟี” แล้วนะครับ Continue reading “Hello! Is anybody there?”

คิดตรงเส้นกรอบ

Graphic Design / I Design Magazine
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ฉบับที่ ๓๑

สำหรับนักออกแบบกราฟิกที่มีอายุนำหน้าด้วยเลขสามขึ้นไป คงจำบรรยากาศตอนทำอาร์ตเวิร์ค
เมื่อซักสิบปีก่อนได้ดีว่ามีความยุ่งยากแค่ไหน กว่าจะได้ต้นแบบเพื่อที่เข้าสู่กระบวนการพิมพ์
ภาษาอังกฤษเรียกว่า Camera-Ready Artwork หรือที่เราเรียกกันคุ้นปากว่า “อาร์ตเวิร์ค” Continue reading “คิดตรงเส้นกรอบ”

หนูไม่ชอบวาดรูปแล้วล่ะ

Article / A Day Weekly Magazine
พฤษภาคม ๒๕๔๗ ฉบับที่ ๑


น้องเตยตอน ป.๓ เป็นเด็กหญิงน่ารักน่าชัง ชอบวาดรูปเป็นชีวิตจิตใจ น้องเตยวาดต้นไม้ บ้าน พระอาทิตย์ ผีเสื้อ วาดพ่อ วาดแม่ วาดอาอี๊ อาเจ็ก อาเฮีย อาม่า ไม่มีเว้น เป็นที่ชื่นชมของผู้ใหญ่ในครอบครัว Continue reading “หนูไม่ชอบวาดรูปแล้วล่ะ”

สวัสดิกะ

Article / A Day Weekly Magazine
สิงหาคม ๒๕๔๗ ฉบับที่ ๑๓

ปัจุบันทัศนคติของผู้คนทั่วไปที่มีต่อสัญลักษณ์สวัสดิกะหรือเครื่องหมาย
แห่งพรรคนาซีน่าจะแตกต่างไปจากผู้คนในยุคก่อนหน้านี้
และก็น่าจะแตกต่างไปจากผู้คนก่อนหน้าโน้นอีกที…

การปรากฏสัญลักษณ์นี้ตามสิ่งของต่างๆ ในสังคมยุคบริโภค เช่น เสื้อยืด
รอยสัก ลวดลายตามกำแพง เป็นต้น เวลาและยุคสมัยกลับค่าให้สัญลักษณ์
ที่เคยเป็นเครื่องหมายแห่งความรุนแรงและ เป็นที่ต่อต้านของผู้คนทั่วโลก
เป็นเพียงลวดลายที่นำมาใช้ประดับตกแต่งเครื่องแต่งกายหรือเป็นแค่สัญลักษณ์
ของวัยรุ่นที่อยากจะนำเสนอความขัดแย้งกับสังคม แต่ระดับความเข้มข้นนั้น
อาจเทียบไม่ได้กับที่มันเคยเป็น… Continue reading “สวัสดิกะ”

ภาพผู้ว่า

ARTicle • a day weekly magazine •
ฉบับที่ ๑๕ • สิงหาคม ๒๕๔๗

:: กระแสการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังคงเป็นที่สนใจของผมและอีกหลายๆคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้ายหาเสียงตามถนนหนทางต่างๆที่ถูกจัดทำขึ้นมาเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์และนโยบายการบริหารของแต่ละคน รูปแบบตัวอักษร ภาพที่ใช้ในการนำเสนอบุคลิกภาพและตัวตนของผู้สมัคร รวมถึงการใช้สีให้มีบทบาทสำคัญในการเป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายแทนตัวผู้สมัครแต่ละคน สีฟ้า เขียว ส้ม ชมพู หรือแดง ก็สามารถทำให้ผู้คนสามารถรับรู้และนึกถึงตัวผู้สมัครได้ทันทีเหมือนกันเมื่อพบเห็นป้าย ใบปิด หรือเสื้อ ที่มีสีนั้นๆ กลวิธีทางการออกแบบถูกนำมาใช้เป็นปัจจัยสำคัญทางการเมืองสมัยใหม่ มีการกำหนดกลยุทธ์ทางการสื่อสารอย่างมีเป็นระบบ การใช้มืออาชีพทางการสื่อสารในด้านต่างๆเข้ามามีส่วนในการระดมสมองเพื่อเกิดประสิทธิภาพทางการสื่อสารสูงสุดกับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการวางกลยุทธ์การสื่อสารหรือโน้มน้าว การสร้างคำ การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ฯลฯ Continue reading “ภาพผู้ว่า”

เนื้อเสียงของนิตยสาร

ARTicle • a day weekly magazine •
ฉบับที่ ๑๘ • กันยายน ๒๕๔๗


แบบตัวอักษร โดย อนุทิน วงศ์สรรคกร

วิธีที่ผมมักจะสังเกตว่าผู้คนในพื้นที่ต่างๆนั้นๆมีความสนใจในเรื่องอะไรบ้างเวลาไปต่างจังหวัด
หรือต่างประเทศ ก็คือการไปดูตามแผงนิตยสารของเมืองนั้นๆ มันทำให้ผมพอที่จะรับรู้เนื้อหา
ทางสังคมของพื้นที่นั้นได้ดีพอสมควร ถึงแม้ว่าการปรากฏขึ้นของนิตยสารบางฉบับจะไม่ได้เกิดขึ้น
จากความต้องการของผู้คนในสังคม แต่บางครั้งอาจมาจากความต้องการของผู้ผลิตนิตยสารเอง
ไม่ว่าจะเป็นความต้องการทางการตลาดหรือเป็นความต้องการทางความสนใจหรือความชอบ
อย่างไรก็ตามแผงนิตยสารสำหรับผมก็ยังเป็นเสมือนป้ายแนะนำตัวเองของเมืองหรือสังคมหนึ่งๆ
ที่ผมจะต้องไปยืนเปิดหูเปิดตาอยู่เสมอ Continue reading “เนื้อเสียงของนิตยสาร”

ผู้ใหญ่ไม่กล้าวาดรูป

ARTicle • a day weekly magazine •
ฉบับที่ ๒๔ • ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๗

// ช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอม เป็นช่วงเวลาที่เด็กๆทั้งหลายจะได้พักสมอง
จากการคร่ำเคร่งกับการไปโรงเรียน หลายๆคนได้มีโอกาสนอนตื่นสาย
ออกไปเตร็ดเตร่วิ่งเล่นกับเพื่อนๆในละแวกแถวบ้าน ได้ไปเที่ยวสวนสัตว์
สวนสนุก สวนน้ำ และอีกสารพัดสวน เปิดหูเปิดตาไปกับสิ่งอื่นๆ
ที่อยู่นอกเหนือตำราเรียน แต่อีกหลายๆคนก็น่าเห็นใจเพราะมี
ความจำเป็นต้องไปเรียนพิเศษในช่วงปิดเทอมตามความเห็นชอบ
ของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งติววิชาการหรือเรียนเสริมด้านอื่นๆ
การเรียนเสริมของเด็กๆในยุคที่ทุกเรื่องดูจะเป็นการแข่งขันไปซะหมด
แนวคิดในรูปแบบของการกำจัดจุดอ่อนดูจะเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น
วิธีการตัดตัวเลือกที่ไม่ต้องการออกให้เหลือเพียงคนคนเดียวหรือคนกลุ่มเดียว
เพื่อให้ได้สิทธิในการทำหรือได้รับอะไรบางอย่าง อาจมีส่วนทำให้เรารู้สึกว่า
เราไม่มีสิทธิที่จะทำอะไรบางอย่าง เพียงเพราะเราไม่ได้การยอมรับจากสังคม
ว่าเราสามารถทำได้ดี เด็กๆหลายคนในยุคนี้จึงพยายามเริ่มที่จะสร้างสิทธิใน
การทำอะไรบางอย่างด้วยวินัยและความเป็นเลิศ ซึ่งในบางแง่มุมผมว่าก็น่าจะดี
แต่ก็อย่าลืมทำอะไรเล่นๆบ้างนะน้องๆ…. Continue reading “ผู้ใหญ่ไม่กล้าวาดรูป”

“จุด” หน่วยของแรงบันดาลใจ

บทสนทนา โดย สันติ ลอรัชวี และ นาถวัฒน์ ธัมพิพิธ
ภาพ : ผลงานชื่อ Be inspired No 1 จากนิทรรศการ Inspired by O

Article / A Day Weekly Magazine
พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ฉบับที่ ๒๖

// ตั้งแต่เด็ก ผมมักทำอะไรตามใจตัวเอง เลือกเรียนวิชาที่อยากเรียน โดดเรียนวิชาที่ไม่ชอบ ฟังเพลงของนักดนตรีที่ชื่นชอบ อ่านหนังสือของนักเขียนคนโปรด ถ้าจะเรียกสิ่งเหล่านั้นว่าแรงบันดาลใจ มันก็บันดาลให้ผมตัดสินใจทำอะไรหลายๆ อย่างที่ส่งผลกับตัวผมจนถึงทุกวันนี้ เมื่อเอากล้องขยายส่องภาพพิมพ์ของตัวผมในปัจจุบันก็จะพบเม็ดสกรีนเล็กๆ หลากสีมากมาย เรียงตัวประกอบกันจนปรากฏภาพของคนๆ หนึ่ง ผมใช้กล้องขยายที่มีกำลังขยายมากขึ้นกว่าเดิมส่องดูอีกครั้ง ผมพบว่าในจุดเล็กๆ นั้นมีบางอย่างอยู่ในนั้น บางจุดคล้ายๆ บุคคลคุ้นเคย บางจุดคล้ายการ์ตูนที่เคยดูตอนเด็กๆ บางจุดมีข้อความจากหนังสือที่เคยอ่านอยู่ในนั้นและอีกหลายๆ จุดล้วนแล้วแต่มีสิ่งที่ประสบมาแล้วทั้งสิ้น… Continue reading ““จุด” หน่วยของแรงบันดาลใจ”

สวนลุมฯ

๑๒ ก.ย. ๔๖

กลางปี ๒๕๔๕ ผมได้มีโอกาสพาคุณนายบังเอิญไปเดินเล่นที่สวนลุมพินีอีกครั้ง
หลังจากห่างหายไปจากสวนแห่งนี้กว่า ๑๕ ปี…
มีบางอย่างเกิดขึ้นในความคิดของผม ณ สวนแห่งนี้… Continue reading “สวนลุมฯ”

กรุงเทพฯ อวดดี

บทบรรณาธิการหนังสือ กรุงเทพฯ อวดดี
มีนาคม ๒๕๔๕



ถ้าจะพูดว่า ภาพของเมืองหลวงโดยส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะ ตึกระฟ้า ป่าคอนกรีต
มลพิษ ชีวิตกลางคืน ก็คงจะมีคนไม่เห็นด้วย เพราะน่าจะมีอีกหลายคนที่มองเห็น
ความต่างออกไปจากภาพลักษณ์มหานครที่สับสนวุ่นวาย เพราะความต่างที่ว่าอาจจะนำมา
สู่ความเป็นรูปแบบเฉพาะ อาจจะทำให้เมืองแต่ละเมืองมีเสน่ห์ที่น่าหลงใหลต่างกันออกไป
ในเมืองหนึ่งจุดที่น่าหลงใหลของแต่ละคนก็อาจจะแตกต่างกัน
บางคนชอบสภาพของเมืองตอนกลางวัน
ในขณะที่บางคนอาจจะชอบสภาพตอนกลางคืน Continue reading “กรุงเทพฯ อวดดี”