โปสเตอร์กับความเป็นศิลปะสาธารณะ

เป็นบทความขนาดสั้นที่เขียนขึ้นเพื่อลงวารสาร RAW MAT
ในโอกาสนิทรรศการโปสเตอร์ “Design (alone) Cannot Change (everything)”
แสดงระหว่างวันจันทร์ที่ 1-7 ธันวาคม 2551
ณ แกรนด์ ฮอลล์ ชั้น 1 สยาม ดิสคัพเวอรี่
Continue reading “โปสเตอร์กับความเป็นศิลปะสาธารณะ”

ข้อเขียนในสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am not โดย สันติ ลอรัชวี


ใช่ครับ..ผมเปล่า

หลายปีที่ผ่านมา ผมใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการปะทะกันของข่าวสารมากมาย
การปรากฏขึ้นของรายการโทรทัศน์ประเภทโต้วาที
รายการคุยข่าว รายการผู้นำคุยกับประชาชน หนังสือพิมพ์ที่มีฝักฝ่ายทางการเมืองอย่างเด่นชัด
โฆษณาที่แฝงตัวมาในรูปของบทความในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และรายการโทรทัศน์ขนาดสั้น
รวมถึงพรีเซนเตอร์สินค้าที่พยายามประกาศตัวว่าไม่ได้มาชวนเชื่อขายของ.. Continue reading “ข้อเขียนในสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am not โดย สันติ ลอรัชวี”

บทความจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am Not โดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

หน้าซองของเตี่ย
ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

เตี่ยผมเป็นคนจีนแต้จิ๋ว ความที่ต้องอพยพหลบหนีสงครามกลางเมืองและความอดอยากมาสยาม
พร้อมกับเตี่ยของแก(อากงของผม) ตั้งแต่เด็ก ทำให้เตี่ยไม่มีโอกาสได้เล่าเรียนหนังสือมากนัก
หนังสือจีนพออ่านออกเขียนได้ ส่วนหนังสือไทยนั้น เทียบชั้นแล้วก็คงประมาณประถมสี่
แม้เตี่ยจะเขียนจดหมายสั่งของจากกรุงเทพฯได้ เขียนใบส่งของคล่อง รวมทั้งบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย
ในร้านขายของเล็กๆ ของแกได้อย่างถี่ถ้วน แต่ลึกๆ แล้ว ผมเชื่อว่า แกไม่เคยพอใจในลายมือของแกเลย
ลายมือภาษาไทยของเตี่ยตัวหวัดใหญ่ ครูที่โรงเรียนผมเรียกว่าตัวเท่าหม้อแกง
นอกจากจะมีอารมณ์ประชดประชันผสมอารมณ์ขันแล้ว ผมคิดว่ายังมีอารมณ์หยันปะปนอยู่เล็กน้อย
เตี่ยเองก็คงพอรู้จักลายมือของตัวเองดีว่ามีข้ออ่อนอย่างไร เวลาจะไปงานศพหรืองานแต่งใครต่อใครในตลาด
เตี่ยจึงเรียกใช้บริการผมให้ช่วยไปหยิบซองจดหมายในตู้หน้าบ้านมาเขียนชื่อแกตัวใหญ่ๆ
พร้อมนามสกุลยาวๆ ที่ด้านหน้าทุกครั้งไป แม้ผมจะเขียนด้วยความตั้งใจเพื่อให้ชื่อและนามสกุลของเตี่ยงามสง่า
แต่ก็ใช่จะว่าจะสร้างความพอใจให้กับเตี่ยได้ทุกครั้ง บางครั้งที่แกเห็นว่าเขียนสวย แกก็จะเอาเงินใส่ซอง
พับซองใส่กระเป๋า แล้วออกจากบ้านไปโดยไม่บ่นไม่ชมอะไร แต่บางครั้งด้วยลายมือเดียวกัน
แกกลับเห็นว่าไม่สวย เขียนเป็นเล่นไป แกก็จะให้เขียนใหม่จนกว่าแกจะพอใจ สามซองบ้าง สี่ซองบ้าง ก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้ายังไม่ถูกใจอีก แกก็จะเริ่มหงุดหงิดและแก้ปัญหาด้วยการลงมือเขียนด้วยลายมือหวัดๆ
เท่าหม้อแกงของแกเอง Continue reading “บทความจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am Not โดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา”

คำนิยมจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am not โดย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

รู้จักกันมา 6-7 ปี เข้าใจว่าผมจะไม่เคยถาม สันติ ลอรัชวี เลยสักครั้ง.. Continue reading “คำนิยมจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am not โดย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์”

บทความจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am Not โดย อนุทิน วงศ์สรรคกร

นี่คือ”ข้อมูล” This is data.
อนุทิน วงศ์สรรคกร
Anuthin Wongsunkakon

เรียบเรียงและแปลโดย เจิมศิริ เหลืองศุภภรณ์ และ ภูมิ รัตตวิศิษฐ์
Edited and Translated by Jermsiri Luangsupporn and Poom Rattavisit

16 May 2008
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑

การส่งต่อของข้อมูลเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคย และสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป โดยปรกติแล้ว ข้อมูลมักจะถูกแทนความหมายว่าเป็นสิ่งมีค่า ซึ่งมันจะไม่มีค่าเลยถ้าปราศจากผู้รับ
เพราะข้อมูลที่ไม่เกิดการส่งต่อ ก็จะทำให้ค่าของมันเป็นเพียงความลับ (ซึ่งในบางทีกลับถูกมองว่าเป็นข้อมูลที่มีค่ามากพิเศษ) หรือเป็นเพียงการบันทึกของผู้สร้างข้อมูล Continue reading “บทความจากสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am Not โดย อนุทิน วงศ์สรรคกร”

บันทึกการสอน 2550


ผลงานสุดท้ายของวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ 5 ที่ผมสอนคู่กับอาจารย์อนุทิน วงศ์สรรคกร
ที่ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นชั้นเรียนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาที่มุมมอง
ต่อสถานการณ์รอบตัวด้วยวิจารณญาณเชิงการออกแบบ ความพยายามของชั้นเรียนกำลังทดลอง
ให้นักศึกษาออกแบบก้าวผ่านสถานะของผู้เพียงแค่ส่งผ่านสาร
ไปสู่สถานะของผู้ผลิตตัวบทของสารที่ต้องการจะสื่อ Continue reading “บันทึกการสอน 2550”

Environment Friendly Kitsch : Yes, I am not!!

ประเด็นเรื่องความห่วงใยสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องใหม่ของสังคม และถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันในวงกว้าง
ไม่เว้นแม้แต่ในวงการออกแบบทุกแขนง แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ
กลับทวีความรุนแรงพอๆ กับอัตราการเพิ่มของกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ในทุกมุมโลก
ปัจจุบันกระแสโลกร้อนก็ขยายวงกว้างขึ้นไม่แพ้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของโลกใบนี้
ซึ่งไม่ต่างจากกระแสอื่นๆ ที่สามารถนำไปทำมาค้าขายได้
จนเกิดกระแส “Global Warming Marketing” ที่เป็นศัพท์ใหม่ในหมู่นักการตลาด Continue reading “Environment Friendly Kitsch : Yes, I am not!!”

ข้อเขียนที่เขียนถึงข้อเขียน

ไปพบข้อเขียนที่พูดถึงบทความที่เคยเขียนลงใน aday weekly ฉบับแรกโดยบังเอิญ
รู้สึกประทับใจที่ข้อเขียนของตัวเองนั้น พอจะมีคนชอบบ้างและคิดต่อ ขอบคุณครับ

ศิลปะ…ไม่ใช่บัญญัติไตรยางค์
สิงหาคม 17, 2008 by janghuman Continue reading “ข้อเขียนที่เขียนถึงข้อเขียน”

Review “Yes, I am not” from Fine Art Mag.

หากพูดถึงโลกแห่งการสื่อสารปัจจุบันนี้ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่พูดถึงกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การคิดค้นอินเตอร์เนท
เครื่อข่ายโยงใยการสื่อสารทั่วทั้งโลกเข้าด้วยกัน จากการพัฒนาระบบสารสนเทศ ก่อให้เกิดผลกระทบ อย่างรวดเร็วมหาศาลต่อ เศรฐกิจ
การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมภายใต้สังคมทุนนิยม การถ่ายทอดวัฒนธรรมจึงกลายเป็นผลพวงทำให้เกือบทุกชาติรับวัฒนธรรมตะวันตก
ความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้สร้างกระแสของการมีเสรีภาพในการเลือกบริโภค ข้อมูลข่าวสารที่โถมเข้ามาอย่างพรั่งพรู Continue reading “Review “Yes, I am not” from Fine Art Mag.”

My Pecha Kucha Night

Pecha Kucha Night ครั้งที่ 4 เมื่อวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสร่วมเป็น 1 ใน 20 speakers
โดยนำชุดภาพ Deinstallation เลยนำเนื้อหาที่พูดประกอบภาพ 20 ภาพมาเรียบเรียงใหม่ ประมาณ 6 นาทีเศษครับ… Continue reading “My Pecha Kucha Night”

ดีไซน์ด้วยจิตสำนึก – ดีไซน์เพื่อสังคม

ได้อ่านบทความที่เขียนถึงนักออกแบบคนโปรด ‘โจนาธาน บาร์นบรูค’ (Jonathan Barnbrook) จากเว็บประชาไท (www.prachatai.com)
โดย : ตติกานต์ เดชชพงศ เผยแพร่วันที่ 13 ม.ค. 2550 ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อให้ผู้อ่านบล็อค Grafiction ครับ
ถ้าจะอ่านจากเว็บประชาไทได้ด้วยการลิงค์ที่หัวเรื่องได้เลยครับ หรือทำความรู้จักกับ Branbrook เพิ่มเติมที่ http://www.barnbrook.net/


‘โจนาธาน บาร์นบรูค’ (www.pingmag.jp) Continue reading “ดีไซน์ด้วยจิตสำนึก – ดีไซน์เพื่อสังคม”

วัตถุที่นำมาซึ่งความงาม

หลายปีก่อน ผมค้นเจอเอกสารแปลฉบับหนึ่ง ขณะที่ผมกำลังจัดระเบียบโต๊ะทำงานที่บ้าน
เอกสารฉบับนี้…เพื่อนอาจารย์คนหนึ่งเคยมอบให้ผมมาเมื่อหลายปีก่อน
ผมและเพื่อนคนนี้รู้จักกันจากการสอนในวิชาเดียวกันที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นก็ไม่ได้ติดต่อกันอีกเลย
เอกสารที่ว่าแปลมาจากงานเขียนของ กฤษณามูรติ เรื่อง “ความสวยงามกับการรับรู้” เธอบอกผมว่าเธอนั่งแปลมัน
ระหว่างที่เธอเฝ้าไข้คุณพ่อที่โรงพยาบาล… Continue reading “วัตถุที่นำมาซึ่งความงาม”

ถึงลูกศิษย์

ผมอยากให้ทบทวนดูว่า ถ้าไม่จดจ่อไปกับผลงานการออกแบบที่น่าพอใจหรือดีเยี่ยมซักชิ้น
คุณได้เรียนรู้อะไรบ้าง… จากเทอมที่ผ่านมา
ผมเชื่อเสมอว่าการเรียนรู้อะไรซักอย่าง ไม่ได้หมายความว่าเราจำเป็นจะได้ผลลัพธ์(ผลงาน)
ที่สวยงามเสมอไป แก่นของการศึกษายังน่าจะคงอยู่ที่กระบวนการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ ความคิด
และทัศนคติเชิงบวก มากกว่าการสร้าง Portfolio เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป

สำหรับผมแล้ว…คุณภาพของคุณทุกคน สำคัญกว่าคุณภาพของผลงานคุณเสมอ
แม้ว่าคุณภาพของคนอยู่ที่ผลของงาน แต่งานของคุณคือการพัฒนาตนเอง
ไม่ใช่งานออกแบบที่เราสมมติมันขึ้นมาทำกันในชั้นเรียนนะ

ไม่มีความจำเป็นต้องถอย… สำหรับคนที่ท้อ
ไม่จำเป็นต้องหยุด… สำหรับคนที่มั่นใจ
ผมเองในฐานะผู้สอน ไม่มีความสำคัญมากขนาดเป็นปัจจัยที่จะทำให้คุณเป็นนักออกแบบอย่างไร
ผมเป็นเพียงแค่เหตุการณ์หนึ่งที่คุณผ่านมันไปแล้ว

บัณฑิตย่อมรู้จักเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ตนเองประสบ
ไม่ว่าเหตุการณืนั้นจะดีหรือร้ายก็ตาม…

Learning to Live Finally : The Last Interview |

Jacques Derrida

การดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป คือ ชีวิตที่มากกว่าการดำรงชีวิต เป็นยิ่งกว่าการใช้ชีวิต
และสิ่งที่กล่าวมานี้ก็มิใช่วาทกรรมแห่งความตาย แต่ในทางตรงกันข้าม
กลับเป็นการยืนยันต่อชีวิตของทุกคนที่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ และอยู่ให้รอดพ้นจากความตาย
เพราะว่าการมีชีวิตอยู่ต่อไปมิใช่ความง่ายดายอย่างที่เป็นอยู่ แต่เป็นการดำเนินชีวิตที่จริงจัง

ข้าพเจ้าไม่เคยถูกหลอกหลอนด้วยความตายอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
มากไปกว่าช่างเวลาที่มีความสุขและความรื่นรมย์
สำหรับข้าพเจ้าแล้ว การมีความสุขและความเศร้าโศกต่อความตายที่รอคอยอยู่นั้น
ถือว่าเป็นสิ่งเดียวกันเวลที่ข้าพเจ้าหวนระลึกถึงชีวิตตนเอง
ข้าพเจ้าชอบคิดว่าตนโชคดีที่ได้รักและชื่นชอบ [ชีวิตของตนเองที่ผ่านมา]
หรือแม้กระทั่งช่วงเวลาที่ปราศจากความสุขในชีวิต แต่ก็ยังชื่นชมต่อสิ่งเหล่านี้อยู่ดี

กระนั้นก็มีสิ่งที่ยกเว้นเพียงอย่างหนึ่ง เมื่อนึกถึงช่วงเวลาแห่งความสุข
แน่นอนว่า ข้าพเข้าปลื้มใจต่อตนเองเช่นกัน
แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ลืมที่จะนึกถึงความตาย หนทางไปสู่ความตาย
เพราะว่าทุกอย่างย่อมต้องผ่านไป โดยไปสู่จุดจบ…

คำถามฟุ้งตลบอบอวล จาก “The Orange Girl”

Appelsinpiken (The Orange Girl) หรือ ส้มสื่อรัก
Jostein Gaarder เขียน; จิระนันท์ พิตรปรีชา แปล; สำนักพิมพ์มติชน


^ Jostein Gaarder

“…นั่งสบายๆ หรือยัง คุณผู้อ่าน? แล้าเราจะเริ่มคุยกัน” Continue reading “คำถามฟุ้งตลบอบอวล จาก “The Orange Girl””

อักษรภาพ / อักษรแสดงความหมาย / อักษรแทนเสียง

// พื้นฐานทั่วไปของอารยธรรมสมัยแรก //

1. การเรียนรู้การใช้โลหะ คือ การนำโลหะมาประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ โดยโลหะชนิดแรกที่นำมาใช้หล่อคือ ทองแดง ต่อมาก็มีการเอาทองแดงผสมกับดีบุกจนกลายเป็นทองบรอนซ์ (หรือโลหะสำริด) และต่อจากนั้นพวกฮิทไทท์ก็เริ่มรู้จักการหลอมเหล็ก จึงสรุปได้ว่าลำดับวิวัฒนาการการใช้เครื่องมือของมนุษย์นั้น เริ่มจากการใช้หิน มาเป็นโลหะคือ ทองแดง ทองบรอนซ์ และเหล็ก ตามลำดับ

2. การชลประทาน การปกครอง และเมือง คือ การอยู่รวมกันมีหัวหน้าปกครอง การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต้องอาศัยระบบการชลประทาน การก่อสร้าง และระบบการเตรียมงานในลักษณะดังกล่าวนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของความร่วมมือกันและขณะที่ทำงานร่วมกันมนุษย์ก็เริ่มจะเรียนรู้เรื่องการปกครอง เนื่องจากความพยายามในการวางแผนงาน การชี้นำ และกำหนดกฎเกณฑ์การทำงาน

3. การแบ่งงานกันทำ โดยแบ่งตามความสามารถและความถนัดของแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ก็เริ่มมีพ่อค้าเกิดขึ้น โดยพ่อค้าในระยะแรก ๆ แห่งสมัยของการพัฒนาเมืองมีหน้าที่ค้าขาย แลกเปลี่ยนทางด้านความคิด นำระบบการผลิตและการค้าไปเผยแพร่

4. การสร้างปฏิทิน เพื่อจะได้ทราบระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล และการกำหนดระยะเวลาในแต่ละปี

*****
5. การประดิษฐ์ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมาย โดยมีพัฒนาการมาตามลำดับ ดังนี้

1) การวาดภาพเพื่อแสดงลักษณะสิ่งของ เรียกว่า “อักษรภาพ” (Pictograms)
2) รูปภาพเพื่อแสดงความคิด เรียกว่า “อักษรแสดงความหมาย” (Ideograms)
3) รูปภาพแทนเสียงซึ่งปกติจะใช้เป็นพยางค์ เรียกว่า “อักษรแทนเสียง” (Phonograms)
4) สัญลักษณ์แทนพยัญชนะหรือสระ

การประดิษฐ์ตัวอักษรเหล่านี้เองคือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการสิ้นสุดของยุคก่อนประวัติศาสตร์และเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์
(อักษรภาพของอียิปต์และครีตัน ซึ่งหมายถึง “ชีวิต” นั้น ในปัจจุบันหมายถึง “สตรี” ซึ่งมีสัญลักษณ์คือ E)

อัตลักษณ์ของแบรนด์และองค์กรในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง

แปลและเรียบเรียง จาก The Conqueror guidebook Managing Brand Identity in a Changing World
ค้นคว้าและเขียน โดย William Harald-Wong
แปล โดย ณัฐยา สินตระการผล
เรียบเรียง โดย สันติ ลอรัชวี

Continue reading “อัตลักษณ์ของแบรนด์และองค์กรในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง”