อ่านออก เขียนภาพ
โดย สันติ ลอรัชวี
(เอกสารประกอบเวิร์คช็อป Visual Literacy
จัดโดย PRACTICAL Design Studio, 7 ต.ค. 2560)
การอ่านภาพ (Visual Literacy) อธิบายได้ว่าคือความสามารถในการเข้าใจและใช้ภาพ
รวมทั้งความสามารถในการคิด ในการเรียน และแสดงออกของตัวเองต่อภาพที่มองเห็น
ไม่มีใครปฏิเสธว่า “ภาพ” เป็นสิ่งหนึ่งช่วยให้การสื่อสารสมบูรณ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาจสรุปได้ว่าการอ่านภาพคือความสามารถทางด้านการมองเห็นของมนุษย์
และใช้ความสามารถนั้นในการจำแนกและแปลความหมาย
สิ่งที่มองเห็นเพื่อการติดต่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และมีสุนทรียภาพ
คำว่า Visual Literacy สามารถแยกแปลความหมายของคำนี้ได้คือ
“Visual” หมายถึงสิ่งที่เกี่ยวกับจักษุประสาทหรือสิ่งที่ตามองเห็น
ซึ่งอาจเรียกรวมว่า “ภาพ” ก็ได้
“Literacy” หมายถึงความสามารถในการอ่านเขียนหรือการเรียนรู้
“การอ่านออกเขียนภาพ” จึงเป็นรูปแบบของการคิดที่สำคัญ
ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางการสื่อสารเชิงภาพให้กับนักออกแบบ
การสื่อและรับสารทางสายตานั้นมีความผูกพันกับมนุษย์ก่อนจะมีภาษาพูดและเขียนด้วยซํ้า
ภาพเขียนในผนังถํ้า การสังเกตสีของผลไม้ พัฒนามาเป็นสัญลักษณ์สากลมากมายที่เราใช้กันในปัจจุบัน หากแต่มนุษย์เริ่มคิดผ่านอิทธิพลของ ภาษาหลังจากที่อารยธรรมด้านภาษาของเราวิวัฒน์มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นภาษา (Linguistics) จึงเป็นระบบการสื่อสารที่มี อิทธิพลต่อมนุษย์ เราทั้งใช้มันในการคิด การรับรู้ และการแสดงออก ผ่านเงื่อนไขการเรียนรู้และการใช้งานในชีวิตประจำวัน จึงอาจกล่าวได้ว่าการสื่อสารเชิงภาพจึงผูกติดอยู่กับการรับรู้ทางภาษาอย่างเหนียวแน่น Continue reading “อ่านออก เขียนภาพ”