บันทึกไทยก้า (มิถุนายน ๒๕๕๒)

ตีพิมพ์ในนิตยสาร Computer Arts ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒
และเผยแพร่ใน http://www.anuthin.org

บทความนี้เดิมทีตั้งใจจะเขียนถึงสัญลักษณ์ของสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย
ที่เริ่มเผยแพร่ให้เห็นกันแล้ว แต่พอเริ่มเรียบเรียงความคิดที่จะเขียน
กลับกลายเป็นว่า…วัตถุดิบในสมองผมมีแต่ข้อมูลที่เป็นเรื่องแวดล้อมของ
สัญลักษณ์ตัวนี้ ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้นในลักษณะจดหมายเหตุเพื่อบันทึก
เรื่องราวหนึ่งๆ ในช่วงเวลาหนึ่งๆ..
ที่ในอนาคต…อาจจะสำคัญหรือไม่ …ผมไม่อาจทราบได้
อีกทั้งพยายามจะหลีกเลี่ยงการวิเคราะห์และวิพากษ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เรื่องราวถูกนำเสนออย่างที่มันเป็น…

เริ่มต้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ (2552) ที่ผ่านมา
ได้มีโอกาสร่วมรับประทานอาหารกับคุณวิสุทธิ์ มณีรัชตวรรณ
นายกสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย, คุณสำเร็จ จารุอมรจิต
แห่ง วี อาร์ ทู สตาร์ดัส พร้อมกับคุณวิเชียร โต๋ว และคุณสยาม อัตตริยะ
แห่งคัลเลอร์ ปาร์ตี้ ซึ่งทุกท่านล้วนแต่เป็นกรรมการและเป็นกำลังสำคัญ
ในการก่อตั้งสมาคมฯ นี้ขึ้นมาหลายปีแล้ว

ในวันนั้น…บทสนทนาส่วนใหญ่เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับเรื่อง
การดำเนินการของสมาคมฯ ซึ่งหลายๆ คนคงทราบว่ามีสมาคมนี้เกิดขึ้น
เมื่อหลายปีก่อน แต่อีกหลายๆ คนก็ไม่ทราบว่ามีการจัดตั้งสมาคมฯ กันขึ้นแล้ว
ทั้งสี่ท่านที่ร่วมสนทนามีความตั้งใจอย่างมากในการที่จะให้สมาคมฯ
เริ่มที่จะมีความเคลื่อนไหวและจัดกิจกรรมออกสู่สาธารณะ
และเพื่อให้สมาคมฯ ได้ทำงานอย่างที่ควรจะเป็น อย่างน้อยก็จะทำให้
นักออกแบบกราฟิก(ไทย) ได้รับรู้โดยทั่วกันว่าเรามีสมาคมทางวิชาชีพ
และก็เริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว

ผมได้ถูกชักชวนให้มาได้ร่วมสนทนาโดยพี่วิเชียร โต๋ว และคุณสยาม อัตตริยะ
ด้วยความที่เคยจัดกิจกรรมทางการออกแบบกราฟิกมาบ้าง ทั้งสองจึงเห็นว่า
ผมน่าจะได้มีโอกาสมาร่วมพูดคุยและแสดงความคิดเห็น
การสนทนาในวันนั้นได้ข้อสรุปบางอย่างที่ทำเกิดการดำเนินการได้ทันที
ซึ่งผมคิดว่าเป็นสัญญาณที่ดีทีเดียว… นั่นคือ ทางสมาคมฯ
จะเริ่มเปิดรับสมาชิกทั่วไป โดยยังไม่จำกัดคุณสมบัติที่เฉพาะเจาะจงและ
ยังไม่มีการเก็บค่าสมัครใดๆ หมายถึงรวมทั้งนักศึกษา คณาจารย์
นักออกแบบเรขศิลป์และผู้ประกอบกิจการที่สัมพันธ์กันกับงานออกแบบ
เรขศิลป์

ในความเห็นของผมแล้ว นั่นเท่ากับสมาคมฯ เองจะมีโอกาสได้สำรวจสมาชิก
ของสมาคมฯ เองว่าเป็นใครมาจากไหนบ้าง เพราะนอกจากสมาคมฯ
จะมีสมาชิกมากขึ้นแล้ว ในอนาคต…สมาคมฯ ยังสามารถสร้างสรรค์กิจกรรม
ได้สอดคล้องกับสมาชิก (ที่น่าจะหลากหลาย)ได้อีกด้วย ส่วนอีกเรื่องที่เป็น
ข้อสรุปก็คือการจัดเตรียมช่องทางการสื่อสารกับสมาชิกและประชาชนทั่วไป
โดยจะเริ่มจากการทำเว็บไซต์ของสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย
โดยทั้ง 2 ภารกิจจะทำให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2552 นี้

ผมกลับจากวงสนทนาด้วยภารกิจที่ได้รับปากไว้ในเรื่องการหาสมาชิก
ให้ทางสมาคมฯ เนื่องจากผมและแพรคทิเคิล ดีไซน์ สตูดิโอ กำลังเตรียมจัด
กิจกรรมที่ชื่อว่า “ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย
(I am a Thai graphic designer™) ”
จึงคิดว่าน่าจะเป็นช่องทางในการสื่อสารกับเพื่อนๆ นักออกแบบให้ทราบ
เรื่องนี้ไปด้วยกันได้ จากการพูดคุยเพิ่งทราบว่าสมาคมฯ เองยังไม่มีสัญลักษณ์
อย่างเป็นทางการของสมาคมฯ มีแต่สัญลักษณ์ชั่วคราวที่เป็นแบบเรียบง่ายใช้กัน
ในวงแคบๆ ส่วนแบบที่เป็นทางการยังไม่ได้สรุปกัน…
จริงๆ แล้วผมไม่ค่อยแปลกใจนักที่ทางสมาคมฯ ยังไม่ได้สรุปเกี่ยวกับเรื่องโลโก้
ทั้งๆ ที่คราคร่ำไปด้วยนักออกแบบโลโก้
เพราะนั่นแหละที่ยาก…ว่าใครควรจะเป็นคนทำหรือควรจะเลือกแบบของใครดี…
อีกเหตุผลก็น่าจะเป็นเพราะอาจจะยังไม่มีกิจกรรมที่จะต้องใช้
จึงยังไม่ได้สรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้ (ผมเดาเอาเองทั้ง 2 เหตุผล)
แต่ผมเองจะต้องเริ่มดำเนินการจัดหาสมาชิกแล้ว ผมจึงต้องการสัญลักษณ์
ที่เป็นทางการของสมาคมฯ เพื่อเผยแพร่ผ่านใบสมัครและเว็บไซต์
จึงได้ปรึกษาพี่วิเชียรว่าจะหาใครซักคนมาทำ
ซึ่งตอนนั้นผมก็เสนอคุณอนุทิน วงศ์สรรคกร ที่มีความเชี่ยวชาญทาง
การออกแบบตัวอักษรร่วมสมัย ด้วยเหตุผลที่ว่าแบบสัญลักษณ์ชั่วคราว
เป็นแบบโลโก้ไทป์ซึ่งผมเองก็เห็นด้วยกับแนวทางนี้
คุณอนุทินจึงน่าจะเหมาะกับงานนี้ ซึ่งพี่วิเชียรก็เห็นด้วยกับความคิดนี้

คุณอนุทินตอบรับที่จะออกแบบให้และส่งผลงานมาให้ทางอีเมล์
หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์
โดยคุณอนุทินให้แนวคิดกับโลโก้ไทป์ของสมาคมฯ ไว้ดังนี้ครับ…

“ ผม (อนุทิน) เห็นด้วยในการทำให้โลโก้ไทป์นี้ออกไปในแนว typesetting
เพื่อให้ไม่แฟชั่นมาก เพราะมันจะดูเป็นองค์กรมีความน่าเชื่อถือกว่า
ผมเลยเขียนตัวอักษรขึ้นมาใหม่หมด พวกพับพวกตัดเฉียงผมเอามาใส่
เพื่อให้มันขับบุคลิกเฉพาะมากขึ้น แต่ได้ไล่เส้นมาอย่างดี
เส้นเฉียงมันทำให้เกิดการเห็นเป็นมิติมากขึ้นในโลโก้ที่เป็นสองมิติ
เป็นเรื่องของ visual perception พื้นฐานกราฟิกล้วนๆ
ซึ่งผมว่าลูกเล่นง่ายๆ อย่าง figure & ground แบบนี้
มันก็ foundation ดี แล้วก็เหมาะสมกับความเป็น institution
ของ ThaiGa เพราะผมเห็นว่ามันเป็นไทยได้แบบไม่ต้องเลื้อยไปมา
มันดูไทยร่วมสมัย ดูผ่านการปฎิวัติอุตสาหกรรมมาแล้วในมุมจากที่ผมเห็น
ไม่ใช่ข้ามไปหยิบไทยในอดีตมาแปะลงไปบนไทป์สมัยใหม่
(แปะกนกลงไปอะไรแบบนั้น)

ส่วนเรื่องสีพยายามเลี่ยงคู่ที่ใกล้ที่สุดกับที่เลือกมาแต่แรก
(แบบสัญลักษณ์ชั่วคราวใช้สีส้มและดำ) แต่ยังเก็บความตั้งใจแรกเริ่มไว้
คือสองสีตัดกัน ผมเลี่ยงดำไปใช้สีนำ้ตาลเข้มๆ มันดูแนวๆสีมังคุดหรือ
พวกสีเสาไม้สักของบ้านไทย อีกอย่างที่ทำให้ผมนึกถึงคือ มะขาม
ซึ่งผมว่าไทยมากเลย ส่วนสีส้มผมปรับให้มันออกฝุ่นๆนิดหน่อย  
เพราะสีไทยยิ่งพวกจิตรกรรมฝาผนัง มันจะออกแนวฝุ่นๆหน่อย
พยายามให้จิตใต้สำนึกเราเอาไปลิ้งค์กับจีวรพระนิดๆ
คือไปลิ้งค์เองในชั้นนั้นไม่ต้องลิ้งค์กันเห็นๆ
โดยรวมคือตั้งใจให้เป็นแบบนั้นครับ…”

แนวคิดในการออกแบบสัญลักษณ์ของคุณอนุทินข้างต้น
ก็ทำให้ผมไม่จำเป็นต้องเขียนถึงในเชิงวิเคราะห์ให้มากความ
เพราะจากถ้อยคำดังกล่าวก็ทำให้เข้าใจได้ถึงที่มา ทั้งในแง่ของ
ไวยกรณ์ทางกราฟิกและการใช้สัญญะผ่านการออกแบบตัวอักษร…
อีกประเด็นที่พอจะเพิ่มเติมก็คือ คุณอนุทินยังเสนอเรื่องตัวอักษรย่อ
ภาษาอังกฤษในแง่การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่กับตัว ‘T’ และตัว ‘G’
ให้สอดคล้องกับการออกเสียง “ไทยก้า” จึงสรุปการย่อตัวอักษรเป็น
“ThaiGa” อย่างที่เห็นกันนั่นเอง

ท้ายที่สุดแล้ว… สมาคมฯ ก็ได้สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการทั้ง
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างที่ผ่านตาหลายๆ คนไปแล้ว
แล้วเริ่มถูกนำไปใช้ในหลายโอกาสตามลำดับ…

นอกเหนือจากการมีคนหน้าใหม่อย่างผม อย่างคุณอนุทินและ
อีกหลายคนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมนั้น ยังต้องกล่าวถึงหลายๆ
สำนักงานออกแบบที่ให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ
มีการระดมทุนเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น
มีเสียงสะท้อนเกี่ยวกับสมาคมฯ มากขึ้น “อ้าว! มีสมาคมนี้ด้วยหรือ”
“ยังมีอยู่อีกเหรอ” “สมัครเป็นสมาชิกแล้วได้อะไร?”
เว็บไซต์หลายแห่งมีบทสนทนาเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น เป็นต้น
ไม่ว่าเสียงสะท้อนจะดังว่าอย่างไร
แต่การสะท้อนกลับอาจแปลได้ว่าสารได้กระทบไปที่ผู้รับสารแล้ว
นั่นอาจหมายถึงเกิดการรับรู้ในการมีอยู่ของสมาคมฯ

จากวันนั้นถึงวันนี้ สมาชิกนักออกแบบเรขศิลป์กว่าพันคนที่เพิ่มขึ้น
ทั้งจากช่องทางเว็บไซต์ http://www.iamathaigraphicdesigner.com
และใบสมัครที่บริษัท แอนทาลิส (ประเทศไทย) จำกัด
ช่วยจัดพิมพ์ให้ฟรีแถมยังให้พนักงานขายของบริษัทนำไปส่งให้ถึง
มือนักออกแบบตามบริษัทต่างๆ เลยทีเดียว
เป็นภาพสะท้อนถึงความร่วมมือเล็กๆ ดังกล่าวที่เสมือนก้าวย่าง
ที่มีการตอบรับกลับอย่างมีความหวัง

แน่นอนว่ายังวัดผลอะไรไม่ได้ อีกทั้งยังไม่สามารถเรียกว่า
การเริ่มต้นได้ด้วยซ้ำ แต่การร่วมมือที่จะทำอะไรซักอย่าง
ในนามสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ได้เกิดขึ้นอีกครั้งแล้ว…
จะเป็นอย่างไรต่อไป…
คงขึ้นอยู่ที่แนวร่วมเดิมยังเดินหน้าต่อไปหรือไม่…
แนวร่วมใหม่จะเข้ามาหนุนหรือไม่…
ยังเป็นสิ่งที่ต้องติดตามต่อไป…

สันติ ลอรัชวี

โปสเตอร์กับความเป็นศิลปะสาธารณะ

เป็นบทความขนาดสั้นที่เขียนขึ้นเพื่อลงวารสาร RAW MAT
ในโอกาสนิทรรศการโปสเตอร์ “Design (alone) Cannot Change (everything)”
แสดงระหว่างวันจันทร์ที่ 1-7 ธันวาคม 2551
ณ แกรนด์ ฮอลล์ ชั้น 1 สยาม ดิสคัพเวอรี่
Continue reading “โปสเตอร์กับความเป็นศิลปะสาธารณะ”

ข้อเขียนในสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am not โดย สันติ ลอรัชวี


ใช่ครับ..ผมเปล่า

หลายปีที่ผ่านมา ผมใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางการปะทะกันของข่าวสารมากมาย
การปรากฏขึ้นของรายการโทรทัศน์ประเภทโต้วาที
รายการคุยข่าว รายการผู้นำคุยกับประชาชน หนังสือพิมพ์ที่มีฝักฝ่ายทางการเมืองอย่างเด่นชัด
โฆษณาที่แฝงตัวมาในรูปของบทความในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และรายการโทรทัศน์ขนาดสั้น
รวมถึงพรีเซนเตอร์สินค้าที่พยายามประกาศตัวว่าไม่ได้มาชวนเชื่อขายของ.. Continue reading “ข้อเขียนในสูจิบัตรนิทรรศการ Yes, I am not โดย สันติ ลอรัชวี”

บันทึกการสอน 2550


ผลงานสุดท้ายของวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ 5 ที่ผมสอนคู่กับอาจารย์อนุทิน วงศ์สรรคกร
ที่ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นชั้นเรียนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาที่มุมมอง
ต่อสถานการณ์รอบตัวด้วยวิจารณญาณเชิงการออกแบบ ความพยายามของชั้นเรียนกำลังทดลอง
ให้นักศึกษาออกแบบก้าวผ่านสถานะของผู้เพียงแค่ส่งผ่านสาร
ไปสู่สถานะของผู้ผลิตตัวบทของสารที่ต้องการจะสื่อ Continue reading “บันทึกการสอน 2550”

Environment Friendly Kitsch : Yes, I am not!!

ประเด็นเรื่องความห่วงใยสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องใหม่ของสังคม และถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันในวงกว้าง
ไม่เว้นแม้แต่ในวงการออกแบบทุกแขนง แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ
กลับทวีความรุนแรงพอๆ กับอัตราการเพิ่มของกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ในทุกมุมโลก
ปัจจุบันกระแสโลกร้อนก็ขยายวงกว้างขึ้นไม่แพ้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของโลกใบนี้
ซึ่งไม่ต่างจากกระแสอื่นๆ ที่สามารถนำไปทำมาค้าขายได้
จนเกิดกระแส “Global Warming Marketing” ที่เป็นศัพท์ใหม่ในหมู่นักการตลาด Continue reading “Environment Friendly Kitsch : Yes, I am not!!”

วัตถุที่นำมาซึ่งความงาม

หลายปีก่อน ผมค้นเจอเอกสารแปลฉบับหนึ่ง ขณะที่ผมกำลังจัดระเบียบโต๊ะทำงานที่บ้าน
เอกสารฉบับนี้…เพื่อนอาจารย์คนหนึ่งเคยมอบให้ผมมาเมื่อหลายปีก่อน
ผมและเพื่อนคนนี้รู้จักกันจากการสอนในวิชาเดียวกันที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นก็ไม่ได้ติดต่อกันอีกเลย
เอกสารที่ว่าแปลมาจากงานเขียนของ กฤษณามูรติ เรื่อง “ความสวยงามกับการรับรู้” เธอบอกผมว่าเธอนั่งแปลมัน
ระหว่างที่เธอเฝ้าไข้คุณพ่อที่โรงพยาบาล… Continue reading “วัตถุที่นำมาซึ่งความงาม”

ถึงลูกศิษย์

ผมอยากให้ทบทวนดูว่า ถ้าไม่จดจ่อไปกับผลงานการออกแบบที่น่าพอใจหรือดีเยี่ยมซักชิ้น
คุณได้เรียนรู้อะไรบ้าง… จากเทอมที่ผ่านมา
ผมเชื่อเสมอว่าการเรียนรู้อะไรซักอย่าง ไม่ได้หมายความว่าเราจำเป็นจะได้ผลลัพธ์(ผลงาน)
ที่สวยงามเสมอไป แก่นของการศึกษายังน่าจะคงอยู่ที่กระบวนการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ ความคิด
และทัศนคติเชิงบวก มากกว่าการสร้าง Portfolio เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป

สำหรับผมแล้ว…คุณภาพของคุณทุกคน สำคัญกว่าคุณภาพของผลงานคุณเสมอ
แม้ว่าคุณภาพของคนอยู่ที่ผลของงาน แต่งานของคุณคือการพัฒนาตนเอง
ไม่ใช่งานออกแบบที่เราสมมติมันขึ้นมาทำกันในชั้นเรียนนะ

ไม่มีความจำเป็นต้องถอย… สำหรับคนที่ท้อ
ไม่จำเป็นต้องหยุด… สำหรับคนที่มั่นใจ
ผมเองในฐานะผู้สอน ไม่มีความสำคัญมากขนาดเป็นปัจจัยที่จะทำให้คุณเป็นนักออกแบบอย่างไร
ผมเป็นเพียงแค่เหตุการณ์หนึ่งที่คุณผ่านมันไปแล้ว

บัณฑิตย่อมรู้จักเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ตนเองประสบ
ไม่ว่าเหตุการณืนั้นจะดีหรือร้ายก็ตาม…

คำถามฟุ้งตลบอบอวล จาก “The Orange Girl”

Appelsinpiken (The Orange Girl) หรือ ส้มสื่อรัก
Jostein Gaarder เขียน; จิระนันท์ พิตรปรีชา แปล; สำนักพิมพ์มติชน


^ Jostein Gaarder

“…นั่งสบายๆ หรือยัง คุณผู้อ่าน? แล้าเราจะเริ่มคุยกัน” Continue reading “คำถามฟุ้งตลบอบอวล จาก “The Orange Girl””

พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



จากบทสัมภาษณ์ของคุณฮิโรมิ อินาโยชิ นักออกแบบชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ออกแบบ
พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ชุดที่ท่านผู้อ่านเห็นอยู่นี้
ในวารสาร “ในวงการพิมพ์” (http://www.thethaiprinter.com)
กล่าวไว้ว่าการได้รับโอกาสเป็นผู้ออกแบบ “พระนามบัตรในหลวง” นั้นมีที่มาจากการจัดนิทรรศการ
แสดงผลงานการออกแบบสัญลักษณ์และสี ในงานของสหประชาชาติ ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี
เมื่อปี พ.ศ. 2545 และมีบุคคลในสำนักพระราชวังไปเห็นฝีมือ จึงให้ความสนใจและหารือ
ถึงการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อถวายในหลวง เนื่องในวโกาสครบรอบ 75 พรรษา Continue reading “พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

ความคิดสร้างสรรค์บนกระดาษใบเล็ก

วารสาร RawMat ฉบับที่ 2

ของสะสมอย่างหนึ่งของผมก็คือ นามบัตร ไม่ว่าจะเป็นนามบัตรของเพื่อน คนรู้จัก ลูกค้า
บริษัทห้างร้านต่างๆ ผมจะพยายามเก็บสะสมไว้ ผมมีนามบัตรของเพื่อนบางคน
ตั้งแต่ทำกันเองสมัยเรียน มาเป็นนามบัตรของที่ทำงานแห่งแรกจนกระทั่งเป็นนามบัตร
ของบริษัทที่เป็นเจ้าของเอง รวมแล้วบางคนมีถึง 6-7 แบบด้วยกัน Continue reading “ความคิดสร้างสรรค์บนกระดาษใบเล็ก”

คิดตรงเส้นกรอบ

Graphic Design / I Design Magazine
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ฉบับที่ ๓๑

สำหรับนักออกแบบกราฟิกที่มีอายุนำหน้าด้วยเลขสามขึ้นไป คงจำบรรยากาศตอนทำอาร์ตเวิร์ค
เมื่อซักสิบปีก่อนได้ดีว่ามีความยุ่งยากแค่ไหน กว่าจะได้ต้นแบบเพื่อที่เข้าสู่กระบวนการพิมพ์
ภาษาอังกฤษเรียกว่า Camera-Ready Artwork หรือที่เราเรียกกันคุ้นปากว่า “อาร์ตเวิร์ค” Continue reading “คิดตรงเส้นกรอบ”

หนูไม่ชอบวาดรูปแล้วล่ะ

Article / A Day Weekly Magazine
พฤษภาคม ๒๕๔๗ ฉบับที่ ๑


น้องเตยตอน ป.๓ เป็นเด็กหญิงน่ารักน่าชัง ชอบวาดรูปเป็นชีวิตจิตใจ น้องเตยวาดต้นไม้ บ้าน พระอาทิตย์ ผีเสื้อ วาดพ่อ วาดแม่ วาดอาอี๊ อาเจ็ก อาเฮีย อาม่า ไม่มีเว้น เป็นที่ชื่นชมของผู้ใหญ่ในครอบครัว Continue reading “หนูไม่ชอบวาดรูปแล้วล่ะ”

สวัสดิกะ

Article / A Day Weekly Magazine
สิงหาคม ๒๕๔๗ ฉบับที่ ๑๓

ปัจุบันทัศนคติของผู้คนทั่วไปที่มีต่อสัญลักษณ์สวัสดิกะหรือเครื่องหมาย
แห่งพรรคนาซีน่าจะแตกต่างไปจากผู้คนในยุคก่อนหน้านี้
และก็น่าจะแตกต่างไปจากผู้คนก่อนหน้าโน้นอีกที…

การปรากฏสัญลักษณ์นี้ตามสิ่งของต่างๆ ในสังคมยุคบริโภค เช่น เสื้อยืด
รอยสัก ลวดลายตามกำแพง เป็นต้น เวลาและยุคสมัยกลับค่าให้สัญลักษณ์
ที่เคยเป็นเครื่องหมายแห่งความรุนแรงและ เป็นที่ต่อต้านของผู้คนทั่วโลก
เป็นเพียงลวดลายที่นำมาใช้ประดับตกแต่งเครื่องแต่งกายหรือเป็นแค่สัญลักษณ์
ของวัยรุ่นที่อยากจะนำเสนอความขัดแย้งกับสังคม แต่ระดับความเข้มข้นนั้น
อาจเทียบไม่ได้กับที่มันเคยเป็น… Continue reading “สวัสดิกะ”

ภาพผู้ว่า

ARTicle • a day weekly magazine •
ฉบับที่ ๑๕ • สิงหาคม ๒๕๔๗

:: กระแสการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังคงเป็นที่สนใจของผมและอีกหลายๆคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้ายหาเสียงตามถนนหนทางต่างๆที่ถูกจัดทำขึ้นมาเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์และนโยบายการบริหารของแต่ละคน รูปแบบตัวอักษร ภาพที่ใช้ในการนำเสนอบุคลิกภาพและตัวตนของผู้สมัคร รวมถึงการใช้สีให้มีบทบาทสำคัญในการเป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายแทนตัวผู้สมัครแต่ละคน สีฟ้า เขียว ส้ม ชมพู หรือแดง ก็สามารถทำให้ผู้คนสามารถรับรู้และนึกถึงตัวผู้สมัครได้ทันทีเหมือนกันเมื่อพบเห็นป้าย ใบปิด หรือเสื้อ ที่มีสีนั้นๆ กลวิธีทางการออกแบบถูกนำมาใช้เป็นปัจจัยสำคัญทางการเมืองสมัยใหม่ มีการกำหนดกลยุทธ์ทางการสื่อสารอย่างมีเป็นระบบ การใช้มืออาชีพทางการสื่อสารในด้านต่างๆเข้ามามีส่วนในการระดมสมองเพื่อเกิดประสิทธิภาพทางการสื่อสารสูงสุดกับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการวางกลยุทธ์การสื่อสารหรือโน้มน้าว การสร้างคำ การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ฯลฯ Continue reading “ภาพผู้ว่า”

เนื้อเสียงของนิตยสาร

ARTicle • a day weekly magazine •
ฉบับที่ ๑๘ • กันยายน ๒๕๔๗


แบบตัวอักษร โดย อนุทิน วงศ์สรรคกร

วิธีที่ผมมักจะสังเกตว่าผู้คนในพื้นที่ต่างๆนั้นๆมีความสนใจในเรื่องอะไรบ้างเวลาไปต่างจังหวัด
หรือต่างประเทศ ก็คือการไปดูตามแผงนิตยสารของเมืองนั้นๆ มันทำให้ผมพอที่จะรับรู้เนื้อหา
ทางสังคมของพื้นที่นั้นได้ดีพอสมควร ถึงแม้ว่าการปรากฏขึ้นของนิตยสารบางฉบับจะไม่ได้เกิดขึ้น
จากความต้องการของผู้คนในสังคม แต่บางครั้งอาจมาจากความต้องการของผู้ผลิตนิตยสารเอง
ไม่ว่าจะเป็นความต้องการทางการตลาดหรือเป็นความต้องการทางความสนใจหรือความชอบ
อย่างไรก็ตามแผงนิตยสารสำหรับผมก็ยังเป็นเสมือนป้ายแนะนำตัวเองของเมืองหรือสังคมหนึ่งๆ
ที่ผมจะต้องไปยืนเปิดหูเปิดตาอยู่เสมอ Continue reading “เนื้อเสียงของนิตยสาร”

ผู้ใหญ่ไม่กล้าวาดรูป

ARTicle • a day weekly magazine •
ฉบับที่ ๒๔ • ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๗

// ช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอม เป็นช่วงเวลาที่เด็กๆทั้งหลายจะได้พักสมอง
จากการคร่ำเคร่งกับการไปโรงเรียน หลายๆคนได้มีโอกาสนอนตื่นสาย
ออกไปเตร็ดเตร่วิ่งเล่นกับเพื่อนๆในละแวกแถวบ้าน ได้ไปเที่ยวสวนสัตว์
สวนสนุก สวนน้ำ และอีกสารพัดสวน เปิดหูเปิดตาไปกับสิ่งอื่นๆ
ที่อยู่นอกเหนือตำราเรียน แต่อีกหลายๆคนก็น่าเห็นใจเพราะมี
ความจำเป็นต้องไปเรียนพิเศษในช่วงปิดเทอมตามความเห็นชอบ
ของพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งติววิชาการหรือเรียนเสริมด้านอื่นๆ
การเรียนเสริมของเด็กๆในยุคที่ทุกเรื่องดูจะเป็นการแข่งขันไปซะหมด
แนวคิดในรูปแบบของการกำจัดจุดอ่อนดูจะเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น
วิธีการตัดตัวเลือกที่ไม่ต้องการออกให้เหลือเพียงคนคนเดียวหรือคนกลุ่มเดียว
เพื่อให้ได้สิทธิในการทำหรือได้รับอะไรบางอย่าง อาจมีส่วนทำให้เรารู้สึกว่า
เราไม่มีสิทธิที่จะทำอะไรบางอย่าง เพียงเพราะเราไม่ได้การยอมรับจากสังคม
ว่าเราสามารถทำได้ดี เด็กๆหลายคนในยุคนี้จึงพยายามเริ่มที่จะสร้างสิทธิใน
การทำอะไรบางอย่างด้วยวินัยและความเป็นเลิศ ซึ่งในบางแง่มุมผมว่าก็น่าจะดี
แต่ก็อย่าลืมทำอะไรเล่นๆบ้างนะน้องๆ…. Continue reading “ผู้ใหญ่ไม่กล้าวาดรูป”

“จุด” หน่วยของแรงบันดาลใจ

บทสนทนา โดย สันติ ลอรัชวี และ นาถวัฒน์ ธัมพิพิธ
ภาพ : ผลงานชื่อ Be inspired No 1 จากนิทรรศการ Inspired by O

Article / A Day Weekly Magazine
พฤศจิกายน ๒๕๔๗ ฉบับที่ ๒๖

// ตั้งแต่เด็ก ผมมักทำอะไรตามใจตัวเอง เลือกเรียนวิชาที่อยากเรียน โดดเรียนวิชาที่ไม่ชอบ ฟังเพลงของนักดนตรีที่ชื่นชอบ อ่านหนังสือของนักเขียนคนโปรด ถ้าจะเรียกสิ่งเหล่านั้นว่าแรงบันดาลใจ มันก็บันดาลให้ผมตัดสินใจทำอะไรหลายๆ อย่างที่ส่งผลกับตัวผมจนถึงทุกวันนี้ เมื่อเอากล้องขยายส่องภาพพิมพ์ของตัวผมในปัจจุบันก็จะพบเม็ดสกรีนเล็กๆ หลากสีมากมาย เรียงตัวประกอบกันจนปรากฏภาพของคนๆ หนึ่ง ผมใช้กล้องขยายที่มีกำลังขยายมากขึ้นกว่าเดิมส่องดูอีกครั้ง ผมพบว่าในจุดเล็กๆ นั้นมีบางอย่างอยู่ในนั้น บางจุดคล้ายๆ บุคคลคุ้นเคย บางจุดคล้ายการ์ตูนที่เคยดูตอนเด็กๆ บางจุดมีข้อความจากหนังสือที่เคยอ่านอยู่ในนั้นและอีกหลายๆ จุดล้วนแล้วแต่มีสิ่งที่ประสบมาแล้วทั้งสิ้น… Continue reading ““จุด” หน่วยของแรงบันดาลใจ”

สวนลุมฯ

๑๒ ก.ย. ๔๖

กลางปี ๒๕๔๕ ผมได้มีโอกาสพาคุณนายบังเอิญไปเดินเล่นที่สวนลุมพินีอีกครั้ง
หลังจากห่างหายไปจากสวนแห่งนี้กว่า ๑๕ ปี…
มีบางอย่างเกิดขึ้นในความคิดของผม ณ สวนแห่งนี้… Continue reading “สวนลุมฯ”